วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ข้อคิดเห็น เกี่ยวกับพระสมเด็จ

วันนี้ ขอนำเสนอข้อคิดเห็นในเชิงวิเคราะห์ เกี่ยวกับพระสมเด็จ
พระสมเด็จโต ที่มีอยู่นั้นมีมากมายจนยากที่จะแยกแยะได้ว่ามีจำนวนเท่าไหร่ ที่เป็นพระแท้ พระเก่า และเป็นพระที่ท่านสมเด็จโต สร้าง ในความหมายของพระสมเด็จ บางกลุ่ม นั้นตีควมหมายว่าพระสมเด็จ คือพระที่ท่านสมเด็จพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) สร้างขึ้นในขณะทีมีสมณศักดิ์ เป็นพระสมเด็จ (8 ก.ย.2407)เป็นต้นมา (ส่วนพระที่ท่านสร้างก่อนหน้านั้น เรียกว่า "พระพิมพ์") ดังนั้นจึงเป็นพระที่สร้างขึ้นในยุคปลาย แบบพิมพ์ฝีมือช่างหลวง มีส่วนผสมของน้ำมันตังอิ้ว
แต่เดิมในการสร้างใช้น้ำอ้อยเคี่ยว เพื่อรักษาองค์พระไม่ให้แตกหักได้ง่าย แต่ภายหลังนั้นใช้น้ำมันตังอิ้ว เป็นหลัก ดังนั้นพระสมเด็จแท้ ในยุคปลาย คือ เป็นแบบพิมพ์ช่างหลวง ซึ่งมีแบบพิมพ์หลักคือของหลวงวิจารณ์เจียนัยซึ่งเดิมมีช่างหลวง หลวงสิทธิ์โยธารักษ์และหลวงวิจิตรนฤมล
ดังนั้น ผมจึงวิเคราะห์ถึงการนำเสนอของหลายท่านที่เป็นทั้งตำนาน บทความ หนังสือ ว่า "พระสมเด็จแท้" ต้อง
1.มีน้ำมันตังอิ้ว
2.แบบพิมพ์ช่างหลวง
3.มีผงวิเศษ
***ถ้าขาด 3 สิ่งสำคัญนี้ คือพระที่ไม่ใช่พระสมเด็จ เป็น พระปลอม พระเก๊ หรือพระที่ทำเลียนแบบทั้งสิ้น***


ในนิยามของคนบางกลุ่ม จึงคิดว่าจะมี "พระสมเด็จแท้" จะมีสักกี่องค์ และที่บอกว่าเป็นพระสมเด็จแท้ จะมีครบทั้ง 3องค์ฺประกอบหรือไม่?


น้ำมันตังอิ้ว

ตามที่ทราบปรากฏบล็อคหรือแม่แบบพิมพ์ พระสมเด็จวัดระฆัง ที่เป็นผู้รับมรดกตกทอด แสดงเอาไว้ในการเปิดกรุ หลวงวิจารณ์เจียนัย มีเท่าไหร่ จริงแท้แค่ไหนอย่างไร เมื่อไม่มีการพิสูจน์ในข้อเท็จจริงให้ปรากฏและให้หมดข้อกังขา กับผู้ที่ศึกษาและสงสัยของที่มา





ส่วนพระสมเด็จ ที่ท่านสมเด็จโต สร้างในยุคต้น และยุคกลาง ที่เป็นแบบพิมพ์ชาวบ้าน และช่างหลวง ที่เรียกว่า "พระพิมพ์"ของท่านสมเด็จโต คงต้องแยกแยะให้ชัดเจนในการเรียก ไม่ใช่มั่วเหมารวมปนเป ไปหมด  เราจะยึด แบบใดให้เป็นมาตราฐาน ที่ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ สืบทอดเกี่ยวกับพระสมเด็จ จักรพรรดิแห่งพระเครื่องคู่ไปกับพุทธศาสนา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามของชาติสืบไป
แต่"พระพิมพ์"ของท่านสมเด็จโต ต้องมี
1.ผงวิเศษ
2.อายุความเก่าของเนื้อองค์พระ ที่สามารถตรวจสอบได้จากความเป็นของธรรมชาติ ความเก่า และเครื่องมืออันทันสมัยยุคใหม่ตรวจสอบได้
3.แบบพิมพ์ ไม่ได้จำกัด เพราะมีการสร้างจำนวนมาก แบบพิมพ์หักชำรุดได้ง่าย พระหักชำรุดง่าย และไม่ทราบแน่ชัด ไม่มีหลักฐานใดๆบันทึกเอาไว้ให้ใช้เป็นข้อมูลเชิงวิชาการได้ เป็นแค่คำบอกเล่า

ขอให้บุญกุศล บังเกิดกับทุกท่านที่ได้ศึกษา....

ไม่มีความคิดเห็น: