วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2565

ยันต์เฑาะว์พุทธะ ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี

"ยันต์เฑาะว์พุทธะ"  มีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์สูงส่งเพราะพระฤาษีผู้ทรงอภิญญาร่วมกันชักยันต์ขึ้นถึง 108 ตน นอกจากจะใช้ป้องกันภูตผีปีศาจแล้ว ยังใช้แก้โรคภัยไข้เจ็บทั้งภายในและภายนอกได้ดี 

โดยพิมพ์ยันต์ลงบนผ้า ปิดตามร่างกายที่ปวดเช่น ปวดศีรษะ ปวดบวมตามร่างกาย หรือจะสูญฝีก็ได้
ให้ใช้นิ้วจุ่มน้ำลายใต้ลิ้น เขียนยันต์สูญรอบๆฝี หรือจะลงแก้ม แก้คางทูมก็ได้ดียิ่งนัก ให้ระลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัย พระฤาษี 108 ตน
"สมเด็จโตฯ" วัดระฆังฯ จากหนังสือเก่า มีดังนี้ ถ้าผู้ใดจะสระหัว 
ให้เขียนยันต์นี้ใส่ไส้เทียนเถิด แล้วว่า 
นะโม ไปจนจบ 
แล้วว่า พาหุง 
แล้วว่า อิติปิโส กะการ มหเชยยยัง มังคะลัง 
แล้วว่า "พระเจ้าทั้ง ๑๖ พระองค์" ว่าคาถาทั้งคู่ กิริมิทิ กุรุมุทุ กะระมะทะ เกเรเมเท 
ตามแต่จะเสกเถิด ๓ ที ๗ ที วิเศษนัก 
ถ้าได้รู้พระคาถานี้แล้ว อย่ากลัวอันใดเลย ท่านตีค่าไว้ควรเมือง จะไปรบศึกก็คุ้ม ได้สารพัดศัตรูแล...ฯ ขอเดชะ มหายันต์นี้ สมเด็จโต ค้นพบที่ เจดีย์พระธาตุ (นครชุม) จากลานเงิน จังหวัดกำแพงเพชร
"ยันต์เฑาะว์นี้ เป็นยันต์แก้วสารพัดนึก เป็นของวิเศษที่มีพุทธคุณสูงมาก" 
"พระธรรมในพระพุทธศาสนาของพระพุทธองค์ทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ 
ล้วนสรุปรวบยอดลงในยันต์เฑาะว์ตัวเดียวนี่แหละ..!!!!!" 

“ยันต์เฑาะว์..” ตัวนี้ใช้ลงกระหม่อมหรือจารองค์พระก็ได้ โดยระหว่างจารยันต์ตัวนี้ ให้บริกรรมว่า...

เฑาะว์ รัน โต ศี ละ สมาธิ เฑาะว์ รัน ตัน ติ นะ มะ ถุ โน เฑาะว์ รัน โต นะ กัม มัถ ฐา นัง เฑาะว์ พุท นะ มา มิ หัง เฑาะว์ อุ ณา โล มา สัม ปะ นะ ชา ยะ เต ”

ซึ่งปกติแล้วตัว "ยันต์เฑาะว์" นั้น ครูบาอาจารย์แต่โบราณท่านให้ความเคารพกันมากเพราะถือว่าเป็นหนึ่งใน ๑๐๘ ยันต์ 
ยันต์เฑาะว์พุทธะ ในสมัยที่หลวงพ่อปานออกธุดงค์ คือประมาณปี พ.ศ. 2446 ท่านพบลายแทงฉบับหนึ่งบ่งบอกว่า มีขุมทรัพย์และพระคาถามหายันต์อันศักดิ์สิธิ์บรรจุอยู่ภายในพระปรางค์ร้าง วัดพระศรีมหาธาตุ สุพรรณบุรี 
หลวงพ่อปาน มีความสนใจในพระคาถามหายันต์นั้นเป็นอย่างมาก ท่านจึงออกธุดงค์ดั้นด้นค้นหาพระปรางค์ร้างจนพบและทำ การขุดเจาะตรงตำแหน่งลายแทง ก็พบทรัพย์สมบัติและพระพิมพ์ต่างๆ มากมายบรรจุอยู่ในพระปรางค์ แต่ท่านก็ไม่มีความสนใจในทรัพย์สมบัติอันล้ำค่าต่างๆ เหล่านั้นเลย 

นอกจากผอบทองคำใบหนึ่งซึ่งภายในมีแผ่นลานทอง จารึกพระคาถาและอุปเท่ห์วิธีใช้ที่พระฤาษี 108 ตน ร่วมกันชักยันต์ขึ้นมาเป็นพิเศษ เพื่อมอบแด่ผู้มีบุญต่อไปในภายภาคหน้า เมื่อหลวงพ่อปาน ได้พระคาถามหายันต์ไปใช้แล้วก็นำมาท่องจนขึ้นใจสามารถชักยันต์ได้จนมีความชำนาญ จึงนำแผ่นลานทองเก็บไว้ในผอบทองคำตามเดิมแล้วนำมาบรรจุที่ใต้ฐานพระพุทธรูปองค์หนึง จากนั้นหลวงพ่อปานก็นำพระคาถามหายันต์นั้นมาใช้ได้บังเกิดผลอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่น่าอัศจรรย์ ต่อมาเมื่อหลวงพ่อปานพิมพ์รูปของท่านออกแจก จึงประทับมหายันต์นั้นไว้บนศีรษะมหายันต์ดังกล่าวนั้น คือ "ยันต์เฑาะว์พุทธะ"นั่นเอง 

Cr:#ธรรมมณีแห่งเสน่ห์Amulet

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

พระสมเด็จ เพื่อศึกษา

ข้อมูลใดๆที่มีใน Blog.นี้ เกี่ยวกับพระสมเด็จ  ทำขึ้นเพื่อการศึกษาหาความรู้ เท่านั้น ไม่ได้หวังผลประโยชน์ในเชิงการค้า หาผลกำไร.. ขอให้ทราบทั่วกัน.. อาจมีรูปภาพ หรือข้อความ จากบทความอื่นๆ นั้นได้แจ้งที่มา ของบทความและเจ้าของภาพ ไม่ได้นำมาดัดแปลงเพื่อเป็นลิขสิทธิ์ของตนเอง แต่อาจมีบางข้อมูล 
ที่ไม่รู้แหล่งที่มา จึงไม่ได้แจ้งกำกับเอาไว้  จึงต้องขออภัยมา  ณ ที่นี้ ด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

พระสมเด็จวัดระฆัง เนื้อดินเผา มีกริ่ง

ตามรอย พระสมเด็จเนื้อดินเผา อุดกริ่ง
ค้นหาประวัติการสร้างพระเครื่อง พระสมเด็จเนื้อดินเผา
เกจิฯที่สร้าง
-พระสมเด็จเนื้อดิน กรุวัดคู้ยาง กำแพงเพชร พระครูธรรมาธิมุตมุนี(กลึง)ผู้สร้างพระต่าง ๆ บรรจุไว้ในเจดีย์ ในราว พ.ศ. 2444 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ พระยาตะก่า ได้ขออนุญาตบูรณะเจดีย์วัดพระบรมธาตุ นครชุมโดยรวมเจดีย์ทั้ง ๓ องค์ ให้รวมกันเป็นองค์เดียวแต่ใหญ่ขึ้นดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน และในการบูรณะครั้งนั้น น่าจะมีพระครูธรรมาธิมุตมุนี(กลึง) ซึ่งเป็นผู้ปกครองวัดและพระสงฆ์สามเณรในจังหวัดนี้นี้เป็นแม่กองงานบูรณะฝ่ายสงฆ์ ฉะนั้น ในการสร้างพระบรรจุที่กรุวัดคูยางของท่าน ส่วนหนึ่งได้นำพระกรุเก่าที่ชำรุดจากเจดีย์วัดพระบรมธาตุมาซ่อมแซมบรรจุไว้ด้ว
. -พระสมเด็จ เนื้อดินเผา กรุวัดโพธิ์ บางปะอิน อยุธยา วัดเก่า สมัยปลายกรุงศรีอยุธยา พระกรุนี้ก็มีอายุเกือบสามร้อยปี ตามแบบดินเก่าอยุธยา. ... เป็นพระกรุเนื้อดินของเมืองกรุงเก่า แตกกรุเมื่อประมาณปี พ.ศ.2501. ไม่พบประวัติการสร้าง พระสมเด็จเนื้อดินเผาเก่า อุดกริ่ง..
ตามรอยประวัติ ท่านสมเด็จโต การธุดงค์ ไปเขมร ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า เสด็จธุดงค์ไปราวปี พ.ศ.ใด แต่ที่พอมีหลักบันทึกตำนานเอาไว้ คือ
การธุดงด์ ไปกำแพงเพชร
เมื่อ พ.ศ.2392 เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตแห่งวัดระฆัง ได้ไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบศิลาจากรึกที่วัดเสด็จ จึงทราบว่ามีพระเจดีย์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ฝั่งเมืองนครชุมเก่า ท่านจึงได้ดำริให้เจ้าเมืองออกสำรวจแล้วก็พบเจดีย์ อยู่ 3 องค์ อยู่ใกล้ๆ กัน แต่ชำรุดมาก จึงได้ชักชวนให้เจ้าเมืองรื้อพระเจดีย์เก่าทั้ง 3 องค์ รวมเป็นองค์เดียวกัน แต่เมื่อรื้อถอนแล้วจึงได้พบพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และแตกหักตามสภาพกาลเวลา
ในครั้งนั้นท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต ท่านเห็นว่าเศษพระที่แตกหักนั้นยังมีพุทธคุณอยู่ท่านจึงนำกลับมายังวัดระฆังจำนวนหนึ่งพร้อมกับเศษอิฐและเศษหิน และบันทึกใบลานเก่าแก่ที่ได้บันทึกเกี่ยวกับวิธีการสร้างพระสกุลกำแพงเพชร จึงนำเอาเศษพระกำแพงที่แตกหักมาบดเป็นส่วนผสมในการสร้างพระสมเด็จของท่านจนขึ้นชื่อโด่งดังไปทั่วประเทศ เพราะท่านได้สร้างตามสูตรการสร้างพระซุ้มกอกำแพงเพชร ดังนั้นจะเห็นได้ว่าพระสมเด็จในยุคแรกๆ จะมีลักษณะโค้งมนเหมือนกับพระซุ้มกอเพราะว่าพระซุ้มกอกำแพงเพชรเป็นต้นแบบของพระสมเด็จวัดระฆังนั่นเอง