หลวงปู่นาค


พระเทพสิทธินายก
(หลวงปู่นาค โสภโณ)
อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร

ชื่อ นาค
นามสกุล มะเริงสิทธิ์
ชาติภูมิ บ้านปราสาท ตำบลจันอัด (ตำบลเมืองปราสาท ในปัจจุบัน) อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
ชาติกาล วันศุกร์ ที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๒๗ (ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๙ ปีวอก จุลศักราช ๑๑๔๖) เวลา ๑๙:๑๐
ทวด หลวงเริง ต้นตระกูลมะเริงสิทธิ์ (เป็นตระกูลผู้มีอันจะกินตระกูลหนึ่งแห่งเมืองนครราชสีมา
ปู่ ย่า ปู่ชื่อ ขุนประสิทธิ์ (อยู่) เป็นนายอากรเมืองโคราช
ย่าชื่อ ฉิม มะเริงสิทธิ์
ตา ยาย ตาชื่อ พระวิเศษ (ทองศุข)
ยายชื่อ อิ่ม
บิดาชื่อ นายป้อม มะเริงสิทธิ์
มารดาชื่อ นางสงวน มะเริงสิทธิ์
ญาติพี่น้องร่วมบิดามารดา มี ๔ คน คือ
๑.พระเทพสิทธินายก (นาค มะเริงสิทธิ์)
๒.พระภิกษุโชติ มะเริงสิทธิ์
๓.นางทุเรียน ปภาวดี
๔.นางอุดร จุลรัษเฐียร


ชีวิตวัยเยาว์
เป็นเด็กใฝ่แสวงหาความรู้ใส่ตัว เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่วงศ์ตระกูล ตั้งแต่สมัยบ้านเมืองยังไม่มีโรงเรียน เด็กผู้ชายสมันนั้นต้องอาศัยวัดเป็นสถานที่เรียนหนังสือ บิดามารดาพาท่านมาฝากเป็นเด็กวัด อยู่กับพระครูสังฆวิจารย์ (มี) ผู้เป็นลุง ที่วัดบึง ใกล้ประตูชุมพล นครราชสีมา ได้รับการอบรม อ่าน เขียน เรียนหนังสือทั้งภาษาไทย ภาษาขอม ภาษาบาลี อาศัยที่ท่านเป็นคนมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดเล่าเรียนเก่ง ความทรงจำดี มีความประพฤติเรียบร้อยอาจารย์จึงแนะนำให้เดินทางเข้าศึกษาเล่าเรียนต่อในสำนักที่ดีๆ ในกรุงเทพฯ เพื่อความเจริญก้าวหน้าสืบไป

บรรพชา
ประมาณปี พ.ศ.๒๔๔๐ อายุได้ ๑๓ ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบึง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยมีพระครูสังฆวิจารย์ (มี) เป็นพระอุปัชฌาย์

เข้ากรุงเทพฯ
เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ท่านได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยกองคาราวานวัวต่าง มีผู้ร่วมเดินทางประมาณ ๓๐ คน เดินทางจากโคราชรอนแรมมาเป็นเวลาแรมเดือน จวนจะถึงจังหวัดสระบุรี ท่านเห็นกุลี (กรรมกร) จำนวนมากกำลังกรุยทางเพื่อสร้างทางรถไฟไปนคราชสีมา พอถึงเมืองสระบุรีท่านรู้สึกไม่ค่อยสบาย บิดาจึงพาแยกออกจากกองคาราวาน ฝากตัวเป็นลูกศิษย์อยู่กับพระภิกษุรูปหนึ่งมีศักดิ์เป็นน้าที่วัดทองพุ่มพวง สระบุรี หลวงน้าช่วยอุปการะอยู่ที่วัดเป็นเวลานานหลายเดือนระหว่างนั้นท่านได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมต่อไปด้วย โดยมิได้ลดละความตั้งใจที่จะเดินทางเข้าศึกษาธรรมะบาลีในกรุงเทพฯ ให้ได้ในโอกาสหน้า ในที่สุดพระน้าชายก็ได้นำสามเณรนาคเดินทางเข้าถึงกรุงเทพฯ โดยนำไปฝากไว้กับพระอาจารยเลื่อม พระลูกวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งกุฎิของท่านอยู่หน้าวัดใกล้ปากคลอง (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโรงเรียนสตรีวัดระฆัง)

พระอาจารย์เลื่อม เป็นพระหลวงตาที่ชราภาพมาก แต่เป็นผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีลูกศิษย์มาก ท่านเป็นปรมาจารย์ในทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านได้พร่ำสอนสามเณรนาคด้วยความรักและเอ็นดู สามเณรนาคเองก็เป็นคนว่านอนสอนง่าย ยุคนั้นวัดระฆังโฆสิตารามมี พระธรรมไตรโลกาจารย์ ซึ่งต่อมาได้เป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (มร.ว.เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัด สมเด็จองค์นี้เป็นศิษย์เอกของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหมฺรํสี) พระธรรมไตรโลกาจารย์มองเห็นว่า ต่อไปภายหน้าสามเณรนาคจะสร้างเกียรติประวัติดีเด่นเป็นเอกในสำนัก ทั้งการปริยัติคือการเล่าเรียนภาษาไทย ภาษาบาลี และการปฏิบัติในทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน จึงรับสามเณรนาคไว้ในอุปการะ
บ้านเมืองในสมันนั้น ฝั่งกรุงเทพฯ กับฝั่งกรุงธนบุรี แม้ห่างกันเพียงแค่แม่น้ำเจ้าพระยากั้นเท่านั้น แต่ก็มีความเจริญแตกต่างกัน กรุงเทพฯ เมืองหลวงใหม่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก แต่วัดระฆังฯ ที่อยู่ฝั่งธนบุรีเมืองหลวงเก่า กลับดูเป็นเหมือนว่าอยู่ห่างไกลความเจริญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดระฆังฯ นั้น มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล รายล้อมด้วยเรือกสวนไร่นา เป็นดินแดนแห่งความสงบวิเวกวังเวง เหมาะสมเป็นที่ประพฤติพรตพรหมจรรย์ของพระสงฆ์องค์เจ้าผู้เคร่งครัดพระธรรมวินัยและใฝ่ปฏิบัติ

การศึกษา
หลวงปู่นาค เล่าว่า “พระอาจารย์นวล เป็นผู้เชี่ยวชาญภาษาบาลี เดิมทีจำพรรษาอยู่ที่วัดมหาธาตุ แต่ได้ข้าวฝากมาสอนบาลีอยู่ที่วัดระฆังฯ และได้เป็นอาจารย์สอนบาลีหลวงปู่ด้วย”
พ.ศ.๒๔๔๒
สามเณรนาค อายุได้ ๑๕ ปี ได้เล่าเรียนภาษาบาลีมีความรู้ถึงขั้นเข้าแปล บาลีเปรียญธรรม ๓ ประโยคเป็นครั้งแรกต่อหน้าพระที่นั่ง โดยมีพระเถรานุเถระทรงสมณศักดิ์หลายรูปเป็นกรรมการฝ่ายสงฆ์ ผลปรากฏว่าสามเณรนาคสอบแปลด้วยปากได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ได้รับพระราชทานไทยธรรมเครื่องอัฏฐบริขาร จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
พ.ศ.๒๔๔๘
สามเณรนาคมิได้หยุดยั้งความตั้งใจ พยายามศึกษาเล่าเรียนต่อและได้เข้าสอบแปลประโยคบาลีต่อหน้าพระที่นั่งอีกครั้งหนึ่ง ผลปรากฏว่าสอบไล่ได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค โดยการแปลด้วยปาก ซึ่งเป็นการยากสำหรับยุคนั้น แต่ละครั้งที่เข้าสอบจะมีพระภิกษุสามเณรสอบได้เพียงไม่กี่รูป
อุปสมบท
พ.ศ.๒๔๔๘
พระธรรมไตรโลกาจารย์ (ม.ว.ร.เจริญ อิศรางกูล ณ อยุธยา) ผู้อุปการะสามเณรนาค เห็นว่ามีอายุครบอุปสมบทเป็นพระภิกษุได้แล้ว จึงจัดการนิมนต์พระมีสมณศักดิ์สูงมาเป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ในพิธีการอุปสมบท ณ พระอุโสถวัดระฆังโฆษิตาราม โดยมี
- สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์) วัดอรุณราชวราราม เป็นพระอุปัชฌาย์
- สมเด็จพระวันรัต (ฑิต) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
- พระธรรมโกษาจารย์ (แพ) วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นพระอนุศาสวนาจารย์ (ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช)
สำหรับพระธรรมไตรโลกาจารย์ ได้เป็นผู้บอกอนุศาสน์ พระอุปัชฌาย์ให้นามฉายาพระมหานาคว่า “โสภโณ”
พ.ศ.๒๔๔๙
พระมหานาค โสภโณ เข้าสอบแปลเปรียญธรรม๕ ประโยคได้ แต่ไม่ได้เข้าสอบเปรียญธรรมต่อถึงประโยค ๖ ทั้งนี้เพราะเหตุที่ท่านมีภารกิจเป็นผู้รับใช้ใกล้ชิดถวายงานวัดให้เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒโฆษาจารย์ เจ้าอาวาส

เรียนวิปัสสนา
ในระหว่างที่ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมบาลีอยู่นั้น ท่านได้หาเวลาไปศึกษาทางวิปัสสนากัมมัฏฐานเพิ่มเติมกับพระอาจารย์ที่วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) และวัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) และได้ลงมือปฏิบัติจิตภาวนาอย่างเคร่งครัด โดยเพียรพยายามศึกษาและฝึกปฏิบัติอยู่นานถึง ๑๐ ปี ก็สามารถทำมูลกัมมัฏฐานเป็นฌานวิปัสสนาสามารถส่งกระแสจิตได้ ดังมีเรื่องเล่าว่า ที่วัดระฆังโฆสิตาราม ในครั้งหนึ่งมีลูกโยคีมาฝึกทำวิปัสสนา จนสามารถถอดวิญญาณดูนรกสวรรค์ และท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ ได้ เป็นเวลานานถึง ๒ วัน ก็ยังไม่คืนสติ ยังคงนั่งสมาธิอยู่เช่นนั้น

ท่านเจ้าประคุณพระเทพสิทธินายก (หลวงปู่นาค) ในฐานะที่เป็นผู้อำนวยการฝึกสอนอยู่ จึงได้นั่งสมาธิส่งกระแสจิตไปตามวิญญาณของลูกโยคีผู้นั้น แล้วไปพบอยู่ที่สุสานวัดดอน เขตยานนาวา ปรากฏว่า เห็นกำลังเที่ยวเพลิดเพลินอยู่ ท่านจึงส่งกระแสจิตเตือนวิญญาณนั้น ให้กลับคืนร่างตามเดิม เพราะล่วงมา ๒-๓ วันแล้ว ถ้าหากล่าช้าจะคืนเข้าร่างเดิมไม่ได้ เพราะร่างกายอาจเปื่อยเน่าเสียก่อน วิญญาณของลูกโยคีผู้นั้นจึงได้สติ แล้วกลับคืนเข้าร่างตามเดิม ณ ที่นั่งสมาธิอยู่ในศาลาวัดระฆังฯ

นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าว่า คุณโยมของท่านป่วยหนักอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา โดยมิได้ส่งข่าวคราวถึงท่าน แต่ท่านก็สามารถหยั่งรู้ได้ในสมาธิ แล้วนำหยูกยาไปรักษาพยาบาลได้อย่างถูกต้องเพราะท่านใช้กระแสจิตในทางวิปัสสนาเป็นตัวกำหนดจิตทำให้เกิดเป็นพลังขึ้นมา เป็นเหตุให้ท่านคิดสร้าง พระสมเด็จ ปี พ.ศ.๒๔๘๔ ขึ้นมา โดยอาศัยตำราของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหมฺรํสี) ระหว่างนั้นเป็นเวลาที่บ้านเมืองเกิดสงครามเอเชียบูรพาอยู่ ท่านจึงได้แจกจ่ายพระสมเด็จดังกล่าวให้ทหารติดตัวไปในสมรภูมิ เพื่อเป็นการบำรุงขวัญและกำลังใจแก่ทหารอีกส่วนหนึ่งด้วย พระสมเด็จที่หลวงปู่นาคท่านได้จัดสร้างขึ้นครั้งนั้น และที่สร้างขึ้นในรุ่นต่อๆ มา ปรากฏว่า ได้ก่ออภินิหารคงกระพันชาตรี มีพลังทางเมตตามหานิยม มีเกียรติคุณเป็นเยี่ยมในวงการพระเครื่อง ตลอดมาตราบเท่าทุกวันนี้

หน้าที่การงาน
พ.ศ.๒๔๖๗
- เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตาราม
พ.ศ.๒๔๖๘
- เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดระฆังโฆษิตาราม

เกียรติคุณ
- เป็นพระปฏิบัติเคร่งครัดพระธรรมวินัย
- เป็นพระวิปัสสนาจารย์มีจิตใจสงบเป็นสมาธิ สามารถเข้าวิปัสสนาถึงขั้นถอดจิตได้
- สร้างวัตถุมงคล พระผงสูตรสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหมฺรํสี) มากมายหลายรุ่น
- นามท่านชาวบ้านเรียกขานติดปากว่า “หลวงปู่นาค” วัดระฆังฯ ตราบเท่าถึงทุกวันนี้

สมณศักดิ์
พ.ศ.๒๔๖๔
- ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระธรรมกิติ
พ.ศ.๒๔..
- ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชโมฬี
พ.ศ.๒๔๗๔
- ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพสิทธินายก

มรณภาพ
ท่ารมรณภาพด้วยโรคชรา ที่โรงพยาบาลศิริราช จังหวัดธรบุรี เมื่อวันศุกร์ ที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๔ เวลา ๐๔:๔๕ น. สิริรวมอายุได้ ๘๗ ปี อยู่ในสมณเพศ ๗๕ ปี เป็นเจ้าอาวาสครองวัดระฆังโฆสิตาราม อยู่ ๔๗ ปี นับว่าเป็นเจ้าอาวาสที่ครองวัดนานที่สุดองค์หนึ่ง

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
✨พระเนื้อผงรุ่นแรก สร้างปี พ.ศ.๒๔๘๕ ประกอบด้วยพิมพ์ทรงเทวดาอกตัน-อกร่อง เทวดาขัดเพชร และพิมพ์สามเหลี่ยม
✨พระเนื้อผงรุ่นสอง สร้างปี พ.ศ.๒๔๙๕ ประกอบด้วยพิมพ์สมเด็จโต นั่งบริกรรม พิมพ์ปรกโพธิ์ ฝังและไม่ฝังตะกรุด พิมพ์พระประธาน ฝังและไม่ฝังตะกรุด นางพญา คะแนนฐานสิงห์ รูปหล่อ เหรียญโล่ และเหรียญข้าวหลามตัด นอกจากนี้ยังมีอีกหลายรุ่น สร้างในปี พ.ศ.๒๔๙๙, ๒๕๐๐, ๒๕๐๔, ๒๕๐๗, ๒๕๐๙ และรุ่นสุดท้ายคือรุ่นแซยิด ๗ รอบ ปี พ.ศ.๒๕๑๑

เครดิต :ภาพประกอบบทความ  ขอบคุณเจ้าของภาพ พระสมเด็จ หลวงปู่นาค

๑. สมเด็จ หลวงปู่นาค โสภโณ วัดระฆังโฆสิตาราม ปี ๒๔๙๕

๒. สมเด็จ หลวงปู่นาค โสภโณ วัดระฆังโฆสิตาราม ปี ๒๔๙๕

๓. สมเด็จ หลวงปู่นาค โสภโณ วัดระฆังโฆสิตาราม ปี ๒๔๙๕

๔. สมเด็จ หลวงปู่นาค โสภโณ วัดระฆังโฆสิตาราม ปี ๒๔๙๕ ตะกรุด ๓ ดอก
ขอขอบคุณข้อมูล:S-NONSUNg

ประวัติการสร้างพระสมเด็จ
หลวงปู่นาคท่านเป็นพระมหาเถระผู้ใหญ่ อยู่ในวัยแปดสิบเศษ รูปร่างหน้าตา เปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณา และมีศีลจริยาวัตรงดงาม ประพฤติธรรมอยู่เป็นเนืองนิจ มีอิทธิจิตในระดับที่สูง ดังนั้นจึงเป็นที่เชื่อถือกันอย่างกว้างขวางว่าหลวงปู่นาคทรงความ ศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นพระสมเด็จที่ปลุกเสกโดยหลวงปู่นาคจึงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย

ท่านเจ้าคุณใหญ่หรือหลวงปู่นาคท่านทำพระสมเด็จอยู่เสมอตามความจำเป็น และความต้องการของญาติโยม แต่เป็นการทำไปเรื่อย ๆ ตามแต่สะดวกและความพร้อมของผู้ทำคือบรรดาเด็กวัดและพระเณรในคณะหนึ่ง ไม่ได้จัดตั้งเป็นการพิธีใหญ่และทำพระเป็นจำนวนมาก ๆ เพื่อจำหน่ายเป็นพุทธพาณิชย์ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

วันไหนมีการทำพระสมเด็จ ท่านเจ้าคุณใหญ่หรือพระเถระชั้นผู้ใหญ่ประจำกุฏิใหญ่ก็จะผสมผงมาแล้วเสร็จ ใส่ในกาละมังบ้าง ในถังบ้าง และให้บรรดาพระเณรรวมทั้งเด็กวัดช่วยกันพิมพ์พระที่บริเวณชั้นล่างด้านหน้า ของกุฏิใหญ่

การทำพระสมเด็จของหลวงปู่นาค จะใช้ผงปูนปลาสเตอร์เป็นพื้น ผสมกับผงพระเก่าที่เหลือจากการทำรุ่นก่อน ๆ สืบทอดกันมา เหมือนกับน้ำมนต์ในวิหารสมเด็จที่ใช้น้ำใหม่เติมน้ำมนต์ในโอ่งที่ทำมา ตั้งแต่ครั้งเจ้าประคุณสมเด็จ

นอกจากนี้ ยังใช้ผงธูปจากกระถางธูปในโบสถ์ ผงตะไคร่น้ำจากพระปรางค์และพระเจดีย์ในวัดระฆัง แม้กระทั่งดอกไม้สำหรับบูชาพระประธานในโบสถ์มาตากแห้งแล้วบดเป็นผง และใช้ข้าวก้นบาตรรวมทั้งกล้วยซึ่งบดทั้งเปลือกเป็นส่วนผสมด้วย

เมื่อผสมผงได้ที่ตามตำรับเก่าแก่ของวัดระฆังแล้ว ก็จะพิมพ์ลงในแบบพิมพ์พระซึ่งแกะสลักในแผ่นไม้ บางแผ่นก็มีพิมพ์พระหนึ่งองค์ บางแผ่นก็สอง หรือสาม หรือห้าองค์ ตามแบบต่าง ๆ ที่วัดระฆังเคยทำมา และทรงอันเป็นที่นิยมมากก็คือแบบพิมพ์ทรงพระประธานทรงใหญ่

ในบรรดาเด็กวัดที่ช่วยกันทำพระสมเด็จนั้น ก็มีโอฬารหัวหน้าเด็กวัดคณะหนึ่งเป็นเจ้ากี้เจ้าการควบคุมเด็กวัด แต่ก็ยังมีพระผู้ใหญ่คอยควบคุมดูแลอยู่อีกชั้นหนึ่ง

พระที่พิมพ์ก็จะเป็นพระสมเด็จซึ่งเรียกกันว่าพระสมเด็จวัดระฆังรุ่นหลวงปู่ นาค มีทั้งทรงพิมพ์ใหญ่ ทรงเจดีย์ ทรงปรกโพธิ์ และอีกหลายแบบสุดแท้แต่แม่พิมพ์ที่พระผู้ควบคุมการจัดทำจะจัดมาให้ทำ

วันไหนพิมพ์พระได้เท่าใดก็จะมีการนับจำนวนทวนสอบจนตรงกัน แล้วพระเถระผู้ควบคุมการทำพระก็จะยกเอาถาดใส่พระซึ่งพิมพ์เสร็จแล้วขึ้นไป ข้างบน เพราะหลังจากนั้นก็จะเป็นขั้นตอนการปลุกเสกตามแบบฉบับและกรรมวิธีของวัด ระฆังที่สืบทอดมาตั้งแต่ครั้งเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี
พระสมเด็จเหล่านั้นจะถูกนำไปบรรจุกล่องและวางไว้ในห้องพระของท่านเจ้าคุณ ใหญ่ซึ่งเป็นห้องโถงอยู่ชั้นบนของกุฏิใหญ่นั้น จากนั้นก็จะมีการวนสายสิญจน์จากพระประธานของห้องพระ วนลงมาเวียนรัดรอบกล่องพระนั้นจนครบถ้วนทุกกล่อง

ทุกวันหลังจากหลวงปู่นาคท่านสวดมนต์ไหว้พระแล้ว ท่านก็จะเข้าสมาธิภาวนาพระคาถาชินบัญชร แล้วเพ่งพลังจิตและอธิษฐานจิตตามกรรมวิธีปลุกเสกพระสมเด็จวัดระฆัง และจะเพิ่มเวลาทำสมาธิภาวนาแผ่พลังจิตมากขึ้นสำหรับวันพระและถ้าเป็นห้วง เวลาในเทศกาลเข้าพรรษาก็ยิ่งเพิ่มเวลามากขึ้นไปอีก
บางครั้งหลวงปู่นาคก็จะให้นิมนต์พระสงฆ์ในคณะหนึ่งมาสวดพระปริตรและสวดพระ คาถาชินบัญชรปลุกเสกพระด้วย และบางทีในวันพระใหญ่คือวันขึ้น 15 ค่ำและวันมหาปาวารนา หลวงปู่นาคก็จะให้พระขนกล่องพระสมเด็จเข้าไปในโบสถ์ วนสายสิญจน์มาจากพระประธานมายังกล่องพระ

ในบางทีเมื่อมีงานบวชหลวงปู่นาคก็จะให้ขนกล่องพระเข้าไปในโบสถ์ด้วย นัยว่าการสวดญัตติจตุตถกรรมนั้นในอุปสมบทพิธีนั้นมีผลมากต่อการปลุกเสกพระ เครื่องให้เป็นพระ. พระสมเด็จวัดระฆังรุ่นหลวงปู่นาคทรงความศักดิ์สิทธิ์และมีอิทธิปาฏิหาริย์ เลื่องชื่อลือกระฉ่อน มาตั้งแต่ครั้งที่หลวงปู่นาคยังมีชีวิตอยู่ และเมื่อท่านเจ้าคุณสิ้นบุญไปแล้วพระสมเด็จวัดระฆังรุ่นหลวงปู่นาคก็ยิ่งมาก ค่าและหาได้ยากขึ้นทุกที
พระสมเด็จแท้ที่หลวงปู่นาคทำนั้น เป็นการทำเพื่อหาเงินมาบูรณะพัฒนาวัดระฆังซึ่งเสื่อมทรุดต่อเนื่องมาแต่อดีต ศาสนสถานทั้งหลายภายในวัดทรุดโทรมอย่างเห็นได้ชัด จะมัวรอเงินจากผ้าป่ากฐินศาสนสถานก็คงพังพินาศหมดสิ้น เพราะเหตุนี้หลวงปู่นาคท่านจึงคิดอ่านทำพระสมเด็จขึ้นเป็นอภินันทนาการแก่ ผู้ที่มาทำบุญกับวัด

พระที่หลวงปู่นาคปลุกเสกเสร็จแล้วได้มอบไว้ แก่พระลูกศิษย์ซึ่งจะทำบัญชีจำหน่ายสำหรับผู้ใจบุญที่มาทำบุญกับวัด โดยหลวงปู่นาคมิได้จับต้องถือเงินหรือเก็บเงินไว้ด้วยองค์ท่านเองเลย
ผงที่เหลือจากการทำพระแต่ละคราวก็จะเก็บใส่กะละมังไว้ แล้วขนขึ้นไปไว้บนกุฏิหลวงปู่นาค ซึ่งท่านมักจะวางไว้ข้างๆ โต๊ะหมู่บูชา

พระที่ผ่านการทำและผ่านการปลุกเสกดังกล่าวนี้ หากถึงคราววันมหาปวารณาช่วงเข้าพรรษาหลวงปู่ก็มักจะให้พระลูกศิษย์นำไปไว้ใน โบสถ์ วางไว้หน้าพระประธาน โดยมีการนับจำนวนอย่างเข้มงวด ครั้นพ้นวันมหาปวารณาแล้วหลวงปู่นาคก็ให้นำพระเหล่านั้นกลับไปเก็บไว้ที่ กุฏิของท่านดังเก่า ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะหลวงปู่นาคท่านรู้กรรมวิธีว่าวันเวลาและการใดที่จะ อาศัยพลังแห่งความบริสุทธิ์และพลังอำนาจจิตของคณะสงฆ์เข้าเสริมพลังจิตที่ ท่านเจ้าคุณได้ปลุกเสกไว้แต่เดิม
พระสมเด็จวัดระฆังที่ผ่านกระบวนการจัดทำและกระบวนการปลุกเสกตามตำรับที่สืบ ทอดกันมาตั้งแต่ครั้งยุคสมัยเจ้าประคุณสมเด็จนั้นจึงเป็นที่หวังและเป็นที่ วางใจกันโดยทั่วไปว่าทรงไว้ซึ่งพุทธคุณ มีความศักดิ์สิทธิ์ สามารถปกป้องคุ้มครองภยันตรายทั้งปวงได้ และเป็นเครื่องส่งเสริมความเป็นสิริมงคลให้แก่ผู้มีความศรัทธาในตัวท่านหลวง ปู่

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมและวงการพระรู้จักกันดี
พระเนื้อผงรุ่นแรก สร้างปี 2485 ประกอบด้วยพิมพ์ทรงเทวดาอกตัน-อกร่อง เทวดาขัดเพชร และพิมพ์สามเหลี่ยม พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์ ขาโต๊ะ และอีกหลายพิมพ์ที่ไม่ได้กล่างถึง กล่าวเฉพาะพิมพ์ที่นิยม วงการรู้จักพอสมควร
พระ เนื้อผงรุ่นสอง สร้างปี 2495 ประกอบด้วยพิมพ์สมเด็จโต นั่งบริกรรม พิมพ์ปรกโพธิ์ ฝังและไม่ฝังตะกรุด พิมพ์พระประธาน ฝังและไม่ฝังตะกรุด นางพญา พิมพ์พระประจำวัน คะแนนฐานสิงห์ รูปหล่อ เหรียญโล่ และเหรียญข้าวหลามตัด นอกจากนี้ยังมีอีกหลายรุ่น สร้างในปี พ.ศ.2499,2500,,2504,2507,2509 และรุ่นสุดท้ายคือรุ่นแซยิด 7 รอบ ปี 2511 และอีกมากมายที่ยังไม่ได้กล่าวถึง จะกล่าวเฉพาะพิมพ์ที่นิยม หรือพิมพ์ที่วงการรู้จักกันพอสมควรครับ

พุทธคุณและประสพการณ์ที่เล่าต่อกันมา
พุทธคุณในพระของหลวงปู่นาค มีทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพัน เรียกว่าครอบจักวาล ซึ่งพลังจิตของท่านเป็นรัศมีทองคำ

ตัวอย่างที่มีประสพการณ์
เช่น มีทหารมาขอพระของท่านไปลองยิงที่ต้นมะตูมหน้าวัดระฆัง โดยเอาไปพระไปแแขวนไว้แล้วเอาปืน ยู.เอส ของทหาร ลองยิงปรากฎว่ายิงไม่ออก ทหารที่ไปลองนึกว่ากระสุนด้านจึงหันกระบอกไปทางอื่นปรากฏว่าปืนยิงลั่นดัง สนิน ทหารทั้ง 2 นายจึงไปขอขมากับหลวงปู่ ทำใ้ห้คนแตกตื่นไปกันแน่นกุฎิหลวงพ่อ มีทั้งหารบก ทหารอากาศ และตำรวจ และประชาชนอีกมากมาย ขนาดเรียกว่าพระพิมพ์ยังไม่ทันแห้งก็มายืนรอรับกันทีเดียวครับ.

พระสมเด็จของหลวงปู่นาค วัดระฆัง เป็นพระสมเด็จที่มีส่วนผสมของเศษแตกหักของสมเด็จวัดระฆังที่ท่านได้เก็บรวบ รวมไว้เป็นจำนวนมาก จากการที่มีประชาชนนำเศษแตกหักของพระสมเด็จมาทิ้งไว้ที่วัดและการค้นพบพระ สมเด็จจำนวนมากบนหลังคาโบสถ์วัดระฆัง ซึ่งท่านได้นำพระสมเด็จที่แตกหักทั้งหมดร่วมกับการสร้างผงพุทธคุณของท่านตาม ตำรับของสมเด็จโต ทำให้พระสมเด็จของท่านโดยเฉพาะพระในยุคต้น ๆ ช่วงปี 2485-2495 มีเนื้อหามวลสารจัดจ้านน่าบูชายิ่งนัก ซึงนับว่าเป็นพระตระกูลสมเด็จที่มีเนื้อหามวลสารของพระสมเด็จวัดระฆังผสมไว้ มากที่สุด มากกว่าสำนักอื่นที่ท่านได้มอบบางส่วนไปผสมผงสร้างพระให้วัดอื่น เช่น สมเด็จนายเผ่า วัดอินทรวิหาร ปี 95

แต่ เนื่องจากท่านได้สร้างพิมพ์ทรงของพระสมเด็จต่าง ๆ ไว้มากมาย ในวงการจึงนิยมเล่นหากันเฉพาะพิมพ์นิยมบางพิมพ์ของท่านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ตัวใครเห็นก็ทราบว่าเป็นพระของท่าน เ ช่น พิมพ์เทวดาสามชั้นหูบายศรี พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์ชิ้นฟัก พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จโต พิมพ์ซุ้มระฆัง เป็นต้น ส่วนพิมพ์อื่น ๆ ไม่ค่อยนิยมเช่าหากัน สำหรับพระสมเด็จของท่านที่มีเนื้อหาจัดจ้าน แก่ผงพระสมเด็จ หรือ มีการฝังตะกรุดไว้เป็นพิเศษ ตั้งแต่ 1ดอก 2 ดอก หรือ 3 ดอก จะหาได้ยากมากและเป็นที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยจะเช่าหากันในราคาสูงกว่าปกติหลายเท่า

เป็น ที่น่าแปลกใจมากพระสมเด็จของหลวงปู่นาค วัดระฆังไปมีชื่อเสียงโด่งดังในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์เป็นอย่างมาก ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวจากประเทศดังกล่าวมากว้านซื้อกลับไปยังประเทศของตน เป็นจำนวนมาก ทำให้จำนวนพระสมเด็จของหลวงปู่นาค วัดระฆังในปัจจุบัน มีจำนวนลดลงเป็นอย่างมาก พระเก๊และพระยัดวัดจึงมีมากมาย ถึงแม้ว่าพระของท่านราคาอาจยังไม่แพง แต่อนาคตน่าจะได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะผสมผงเก่าสมเด็จโตและปลุกเสกอย่างพิถีพิถัน อีกทั้งประสพการณ์และพุทธคุณของท่านก็ครบเครื่องครอบจักรวาล

ส่วนทางด้วนเมตตามหานิยมนั้น ก็มีผู้ประสพกับตนเองมากมาย เมื่อเกิดขัดสน ทุกข์ยากขึ้นมาก็เอาพระของหลวงปู่ขึ้มาภาวนา อธิษฐานนึกถึงท่าน ก็จะบันดาลให้ธุรกิจที่ท่านทำอยู่ประสพความสำเร็จดั่งมุ่งหวัง หรือเวลาเกิดเหตุคับขัน ก็ขอให้ภาวนานึกถึงท่านให้แคล้วคลาดจากอันตรายที่จะเกิดขึ้นผ่านพ้นไป ซึ่งผู้เขียนขอบอกแต่เพียงว่า ใครมีพระของท่านแล้ว จะมีลาภ ชีวิตจะปลอดภัย

แม้ว่าท่านจะอายุมากตามวัย แต่ร่างกายท่านก็สมบูรณ์เปี่ยมด้วยราศี ใบหน้าของท่านเปลี่ยมด้วยเมตตาใครไปหาเจอท่าน ขอพระจากท่านฟรีๆ หรือเช่าพระจากกรรมการวัด ท่านก็จะเมตตาเจิมแป้งเสกให้อีกครั้ง ครั้งท่านยังเป็นมหาที่ได้รับการแต่งตั้งให้กรรมการตรวจทรัพย์ ปรากฎว่าหลังท่านมรณภาพแล้ว ท่านเหลือเพียง 50 สตางค์เท่านั้น ส่วนใหญ่เงินที่ท่านได้มาก็จะบริจาคช่วยเหลือคนตกยาก และบริจาคกับสิ่งก่อสร้างของวัดจนหมด คงเหลือแต่ความดี และความศรัทธาที่ทุกคนมีให้แดหลวงปู่ หากเทียบตอนท่านกำลังดัง ก็เหมือนหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี จะได้ัไปปลุกเสกเกือบทุกงาน เพราะบารมี และความมีเมตตาของท่านนั้นเอง.

ไม่มีความคิดเห็น: