วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2561

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์

โครงสร้างศิลปะพิมพ์ทรงและงานช่างของพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ทรงพระประธานที่ได้กล่าวถึงแล้วในบทที่ผ่านมา พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ทรงที่มีความสำคัญรองลงมาจากพิมพ์ทรงพระประธานที่จะต้องพิจารณาก็คือพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์


ความสัมพันธ์ของพระสมเด็จวัดระฆังของทั้งสองพิมพ์คือพิมพ์พระประธานกับพิมพ์ทรงเจดีย์ พอจะแยกแยะให้เห็นได้ชัดว่ามีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์หรือมีความคล้ายกันอยู่ไม่มากนัก ซึ่งหากจะกล่าวถึงความสัมพันธ์ในด้านงานช่างของแต่ละพิมพ์ทรงแล้ว เค้าโครงงานของพิมพ์เกศบังตูม(บางพิมพ์) ยังจะคล้ายคลึงและสัมพันธ์กับพิมพ์ทรงเจดีย์ค่อนข้างชัดเจนกว่าพิมพ์พระประธาน จนแม้กระทั่งผู้ชำนาญการบางท่านก็เคยสับสนถกเถียงกันมาแล้ว



ส่วนพิมพ์ทรงเจดีย์มีความเหมือนกับพิมพ์พระประธานก็คือ
1. มีขนาดพอแบ่งได้เป็น 3 ขนาดเช่นกัน คือ ใหญ่ กลาง ย่อม เช่นเดียวกับพิมพ์พระประธาน อีกทั้งยังแบ่งจำนวนพิมพ์ย่อยได้ในทั้ง 3 ขนาดได้จำนวนแม่พิมพ์ใกล้เคียงกับพิมพ์พระประธาน 
แต่ในขณะนี้เชื่อว่าที่พบ พิมพ์พระประธานมีจำนวนแม่พิมพ์มากกว่าพิมพ์ทรงเจดีย์ คือพิมพ์พระประธานมีไม่น้อยกว่า 15 – 16 แม่พิมพ์ ส่วนพิมพ์ทรงเจดีย์มีอยู่ไม่น้อยกว่า 9 – 10 แม่พิมพ์ โดยอาจพอแบ่งซอยออกได้ขนาดละ 3 แม่พิมพ์เป็นอย่างน้อย

2. ฟอร์มพระหรือเค้าโครงพิมพ์ทรง แม้แต่ขนาดของพิมพ์ทรงเจดีย์ในแต่ละขนาดหรือแต่ละพิมพ์นั้นก็เท่ากันกับพิมพ์พระประธาน หรือพิมพ์ใหญ่ เพราความเชื่อว่าขนาดใหญ่ของพิมพ์พระประธานคือขนาดใหญ่ที่สุดของพระสมเด็จวัดระฆัง ซึ่งขอยืนยันว่าความเข้าใจเรื่องขนาดเล็กใหญ่ในพระสมเด็จวัดระฆังเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะแท้ที่จริงแล้วพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์ขนาดใหญ่หรือฟอร์มใหญ่ ก็มีขนาดเท่ากับขนาดใหญ่หรือฟอร์มใหญ่ของพิมพ์พระประธาน



ความยากง่ายในการพบพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์ บางคำถามก็เกี่ยวกับโอกาสในการแสวงหาพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์พระประธาน กับพิมพ์ทรงเจดีย์ อย่างไหนจะพบง่ายหรือยากกว่ากัน
คงต้องตอบว่า หากเปรียบเทียบเอาพิมพ์พระประธานใหญ่เอ ซึ่งหมายถึงฟอร์มใหญ่ มีเส้นแซมใต้หน้าตักและมีเกศทะลุซุ้ม กับพิมพ์ทรงเจดีย์ฟอร์มใหญ่เอ ซึ่งมีเกศทะลุซุ้มเช่นกัน แต่เกศของพิมพ์ทรงเจดีย์เอ มีเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งที่มักเรียกกันว่า “เกศป่อง” และพิมพ์นี้นับว่ามีความยากในการแสวงหาและโอกาสที่จะพบได้พบ ๆ กับพิมพ์พระประธานเอทีเดียว ส่วนฟอร์มรอง ๆ ลงมา คือ ฟอร์มกลาง ๆ หรือฟอร์มย่อม ๆ ยังมีโอกาสพบได้ง่ายกว่าพิมพ์พระประธานในขนาดเดียวกัน



โครงสร้างศิลปะพิมพ์ทรงของพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์
เมื่อกล่าวถึงชื่อพิมพ์ “ทรงเจดีย์” สมควรอย่างยิ่งที่ต้องยกย่องปรมาจารย์พระเครื่องรุ่นลายครามที่เป็นผู้ตั้งชื่อพิมพ์พระสมเด็จ (โดยเฉพาะชื่อพิมพ์ “ทรงเจดีย์”) ซึ่งส่อให้เห็นชัดว่าฟอร์มพระสมเด็จพิมพ์นี้ โดยเฉพาะพิมพ์เอ หรือฟอร์มใหญ่แบบเกศทะลุซุ้มนั้นมีเค้าโครงเปรียบเทียบได้กับเค้าโครงขององค์พระเจดีย์ อันเป็นประติมากรรมสำคัญที่ปรากฏอยู่ทุกวัด ไม่เพียงช่างได้สื่อให้เห็นว่าฟอร์มพระสมเด็จพิมพ์นี้เหมือนกับรูปทรงพระเจดีย์เท่านั้น แต่ยังช่วยสื่อ – ส่ง แต่งเติมให้เกิดความศรัทธาเสื่อมใส และควรค่าแก่การกราบไหว้บูชายิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก



ดังที่กล่าวแล้วว่าอาจแบ่งขนาดพระและฟอร์มพระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ออกเป็น 3 ฟอร์ม 3 ขนาด คือ ใหญ่ กลาง และย่อม สำหรับขนาดใหญ่นั้น ต้องขอยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่าพิมพ์ทรงเจดีย์แม่พิมพ์เอ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มพิมพ์ขนาดใหญ่ จะมีขนาดใหญ่พอกับพิมพ์พระประธานเอ โดยมีขนาดความกว้างยาวใกล้เคียงกัน คือระหว่าง 2.3* 3.5 เซนติเมตร โดยประมาณ ขึ้นอยู่กับการตัดพิมพ์ แต่ก็คงจะต่างกันไม่มากนัก ในส่วนของความหนานั้น พิมพ์ทรงเจดีย์มักจะมีความหนามากกว่าพิมพ์พระประธาน แต่มิได้หมายความว่าทั้งหมด แต่ความหนาพื้นฐานของพิมพ์ทรงเจดีย์นั้นก็ใกล้เคียงกับความหนาของพิมพ์ทรงพระประธาน คือประมาณ 0.5 เซนติเมตร

กดดู ชี้ตำหนิ พิมพ์เจดีย์ พิมพ์ที่1

กดดู ชี้ตำหนิ พิมพ์เจดีย์ พิมพ์ที่ 2

 กดดู ชี้ตำหนิ พิมพ์เจดีย์ พิมพ์ที่ 3

 กดดู ชี้ตำหนิ พิมพ์เจดีย์ พิมพ์ที่ 4

ไม่มีความคิดเห็น: