วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2561

พระสมเด็จฯ กับ น้ำมันตังอิ้ว

พระสมเด็จฯ กับ น้ำมันตังอิ้ว (คือ น้ำมันชักเงาไม้หรือ ในสมัยโบราณเราเรียก น้ำว่าน)
เมื่อไม่รู้ก็อยากรู้


น้ำมันผสานเนื้อ กันการปริแตก ที่เรียกว่าเป็นภาษาจีนว่า ตั้งอิ้วภาษาไทยคือ น้ำมันชักเงาไม้ ที่ทำมาจากพวกยางไม้ น้ำมันจากพืช หรือภาษาเดิมๆ ในสมัยโบราณเราเรียก น้ำว่าน น้ำมันตังอิ้ว คืออะไร ทำไมต้องมี ในยุคหลังที่มีท่านหลวงวิจารณ์เจียรนัย เป็นหัวเรือใหญ่ของการแกะพิมพ์ ได้มีการใช้น้ำมันตังอิ้วเป็นส่วนผสมสำคัญ ที่กลายมาเป็นสัญญลักษณ์ของพระสมเด็จยุคปลาย ทุกท่านที่ศึกษาพระสมเด็จ จะได้ยินคำที่พูดถึงกันบ่อยๆมาก ก็คือ "น้ำมันตังอิ้ว"


ตามตำนานพระสมเด็จ ได้กล่าวว่า การใช้น้ำมันตังอิ้วนั้น มีในพระการสร้างพระสมเด็จยุคปลาย เพื่อแก้ไขปัญหาการแตกหักของพระสมเด็จที่สร้างขึ้นมาใหม่ๆ ที่แต่เดิมใช้พวกน้ำอ้อยเคี่ยว (น่าจะแบบตังเมเหนียวๆ) ยางไม้ ผลไม้ที่มีความเหนียว (เช่น กล้วย) และแป้งจากข้าว ที่ได้ผลบ้างไม่ได้บ้าง พระจึงเสียหายไปมากพอสมควร แต่มาในยุคหลังที่มีท่านหลวงวิจารณ์เจียรนัย เป็นหัวเรือใหญ่ของการแกะพิมพ์
"ได้มีการใช้น้ำมันตังอิ้วเป็นส่วนผสมสำคัญ ที่กลายมาเป็นสัญญลักษณ์ของพระสมเด็จยุคปลาย" ที่คงทน สวยงาม ไม่แตกร้าว และเป็นที่นิยมสูงสุดมาถึงปัจจุบัน @จากการวิเคราะห์ตามหลักการทางเคมีอินทรีย์
•น้ำมันตังอิ้ว คือ น้ำมันข้นเหนียว แบบเดียวกับน้ำว่าน จะไม่ค่อยเข้ากับน้ำอย่างเป็นเนื้อเดียวกัน
•อย่างมากก็เป็นแบบ emulsion
•แต่ช่วยรักษาเนื้อพระผงที่กำลังแห้งตัว ให้ทนทานพอสมควร
•โดยทำให้เนื้อพระมีความหยุ่นตัว เหนียวแกร่ง ไม่แตกหักง่าย
•เกาะยึดเนื้อปูนที่กำลังแห้ง
•โดยเฉพาะในระยะแรกๆ ประมาณ 20-30 ปี ที่ยังไม่มีเนื้อปูนดิบมางอกคลุมรักษาเนื้อพระ และ
•ตังอิ้วน่าจะถูกเก็บกักไว้ในเนื้อพระโดยการปิดล้อมของความชื้น (ไม่เข้ากับน้ำ) และ
•การหุ้มห่อของผิวปูนดิบที่ผิวพระ และ
•ตังอิ้วจะเริ่มซึมออกมา ตาม
◦รูเปิด (รูน้ำตา) ทางไหลระบายความชื้นของน้ำปูนเดิมของผิวพระ และ
◦รอยปริ รอยระแหง เมื่อเนื้อพระเริ่มแห้ง
•และหรือ โดนความร้อนบ่อยๆ (เช่นการแขวนพระไว้กับตัวบ่อยๆ)
•หรือโดนความร้อนจากการแช่น้ำร้อน ที่ทำให้ผิวพระสมเด็จเนื้อปูนดิบ ที่ "ผ่านการใช้"
•มีความหนึกนุ่ม
•ไม่แห้งผาก
•ไม่แตกร้าว ทนทาน
•เหนียวจากด้านใน แกร่งจากผิวปูนด้านนอก
•จึงแข็งประดุจหินอ่อน
•มีคราบตังอิ้วประปราย
ถ้าเข้าใจหลักการทางเคมีนี้แล้ว จะทำให้สามารถเข้าใจ และดูพระสมเด็จเนื้อผงปูนดิบที่มีตังอิ้วได้โดยเข้าใจง่ายขึ้น และเร็วขึ้น

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ดร. แสวง รวยสูงเนิน

ไม่มีความคิดเห็น: