วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การสร้างพระสมเด็จ(๒)

หลักฐานล้ำค่า! เอกสารชิ้นสำคัญของประวัติศาสตร์พระเครื่อง! บันทึกหลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ ภิกษุผู้ช่วยสมเด็จโต สร้างพระสมเด็จ

หลวงปู่คำมีความใกล้ชิดกับเจ้าประคุณสมเด็จฯโต วัดระฆังโฆษิตาราม เจ้าประคุณสมเด็จฯโต เรียกท่านว่าหลวงพี่ ท่านไปช่วยเจ้าประคุณสมเด็จฯโตทำพระสมเด็จอยู่เสมอ เมื่อเจ้าประคุณสมเด็จฯโตมรณภาพแล้ว หลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ จึงรวบรวมพิมพ์พระต่างๆ ของหลวงปู่โต แล้วทำการบันทึกย่อสั้น ๆ ไว้ มีใจความว่า

…………“พ่อโตบวชพระเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๐ เกิด ชาตะ ๒๓๓๐ บวชพระ ๖๕ พรรษา มรณะ ๒๔๑๕ บวชเณร ๘ พรรษา บวชตั้งแต่เป็นเณร พ.ศ.๒๓๔๒”

ตัวอักษรดำใหญ่เป็นบันทึกเพิ่มเติมภายหลังว่า

“แต่เป็นบันทึกของหลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ เขียนไว้ถี่ถ้วน เป็นที่เชื่อได้ เป็นประวัติอันแท้จริงของขรัวโตวัดระฆัง แล้วมาลอกต่อเมื่อหลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ ได้มรณภาพ ไปแล้ว ๔ ปี ในราว พ.ศ.๒๔๒๕ แล้วบันทึกนี้ตกอยู่ที่พระครูปลัดมิศร์ และนายพึ่ง ลูกนายเหลี่ยมบ้านช่างหล่อ ได้ไปขอปลัดมิศร์มาลอกเอาไว้ในราว ๒๔๓๙ แล้วนายจอม องค์ช่างหล่อ มาลอกครั้งสุดท้ายเมื่อ ๒๔๔๓

นายจอมเป็นหัวหน้ากองโรงกษาปณ์ ได้ลอกมาจากบ้านช่างหล่อ หลังวัดระฆัง เป็นหลานนายพึ่ง ปฏิมาประกร เคยเป็นเจ้ากรมกษาปณ์หรือช่างสิบหมู่สมัยนั้น ต่อมา หลานนายจอมได้ลอกมาไว้เป็นครั้งสุดท้าย พระคุณท่านได้เป็นพระวิปัสสนาสูง จะหาพระองค์ใดมาเปรียบมิได้”

อีกหน้าเป็นบันทึกของหลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ ต่ออีกว่า
 “พิมพ์พระสมเด็จทรงนิยมที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จัก

✨พิมพ์ที่ ๑ ทรงพระประธาน มี ๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๒ ทรงชายจีวร มี ๑๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๒ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๓ อกร่องหูยานฐานแซม มี ๓ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๔ เกศบัวตูม มี ๔ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๕ ปรกโพธิ์มีพิมพ์ที่ไม่แตกมี ๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๖ ฐานคู่มีพิมพ์ที่ไม่แตก มี ๓ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๗ เส้นด้าย มี ๑๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๒ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๘ สังฆาฏิ มี ๗ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๙ หน้าโหนกอกครุฑ มี ๑๖ พิมพ์ ทั้งพิมพ์ใหญ่
✨พิมพ์ที่๑๐ พิมพ์ทรงเจดีย์ มี ๒ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์

เมื่อพระคุณท่านได้มรณภาพแล้ว รวมพิมพ์พระที่ไม่แตกชำรุดได้ ๑๖๔ พิมพ์
เป็นพิมพ์สมเด็จที่นิยมและไม่นิยม ๘๑ พิมพ์
นอกนั้นเป็นพิมพ์พระอย่างอื่นเสีย ๘๓ พิมพ์
แล้วที่แตกหัก ๘ ถาดทองเหลืองเต็ม ๆ
และพิมพ์ไกเซอร์ที่เสด็จยุโรป ๓๐๐ องค์ ๆ พิมพ์เป็นพระได้แจกให้พระเจ้าไกเซอ
🌟ต่อมาได้ทำพิมพ์เศียรบาตรขึ้นมาแทนพิมพ์ไกเซอ เพราะใครก็อยากได้พิมพ์ไกเซอ เลยเอาพิมพ์เศียรบาตรแทน ต่อมาคนได้เชื่อว่าพิมพ์นี้เป็นพิมพ์ไกเซอ แต่ความจริงไม่ใช่ พิมพ์ไกเซอองค์พระนั่งบนบัว”
✨การรวบรวม บันทึกที่นำมาเป็นสาระให้อ่านนั้น เท็จจริงเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับท่านเองในการใช้วิจารณญาน ✨


ไม่มีความคิดเห็น: