วันพฤหัสบดีที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2564

พระสมเด็จสอนคน ให้รู้จักธรรมะ "จิตและวิญญาณ"

วิญญาณเป็น นามธรรม และสิ่งที่เป็นนามธรรมนั้น ย่อมไม่สามารถ ที่จะสัมผัสได้ด้วยประสาททั้งห้า

ถ้าท่านเข้าใจหลัก วิชานี้ดี ท่านก็จะไม่พูดเลยว่า ท่านได้เห็นวิญญาณ และแล้วทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าวิญญาณเป็นสิ่ง ที่มีรูปร่าง 

ความจริงร่างของคนที่ตายมาปรากฏให้ เห็นได้นั้น พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า โอปปาติกะ คำ ว่า โอปปาติกะ เป็นชื่อของชีวิตประเภทหนึ่ง ตามศัพท์ แปลว่าชีวิตที่เกิดเป็นรูปร่างสมบูรณ์ขึ้นในทันที ด้วย อำนาจของวิญญาณ 

ซึ่งผิดจากร่างกายของมนุษย์ และสัตว์ทั่วไปในโลกนี้ ซึ่งค่อยๆเติบโตมาโดย ลำดับเพราะกว่าจะจะเป็นร่างกายที่สมบูรณ์นั้นกิน เวลานาน 

ส่วนพวกโอปปาติกะ  เกิดเป็นร่างที่สมบูรณ์ ขึ้นในทันที ในชั่วขณะจิตเดียวที่ปฏิสนธิ   ซึ่งชีวิต อย่างนี้ มีมากมายหลายประเภทและมีจำนวน มากกว่าชีวิตทั้งหมดในโลกนี้ ไม่ทราบว่ากี่ร้อยพัน เท่า 

คำว่า วิญญาณ เมื่อพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ ความรู้สึกนึกคิด ซึ่งทางพระพุทธศาสนาได้แบ่งออกเป็น 6 อย่างคือ 
 
 การเห็น เรียกว่า จักษุวิญญาณ 
 การได้ยิน เรียกว่า โสตวิญญาณ 
 การรู้สึกกลิ่น เรียกว่า ฆานวิญญาณ 
 การรู้สึกรส เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ 
 การรู้สึกสัมผัสต่างๆ เรียกว่า กายวิญญาณ 
 ความรู้สึกนึกคิด เรียกว่า มโนวิญญาณ 

คนเราเมื่อตายแล้ว วิญญาณยังเหลืออยู่ วิญญาณไม่ได้สูญสิ้นไปพร้อม กับร่างกาย แม้จะเอาคนทั้งเป็นโยนเข้ากองไฟ ร่าง กายเท่านั้นที่ไหม้อยู่ในกองไฟ ส่วนวิญญาณหาได้ ไหม้อยู่ในกองไฟไม่ หรือแม้ว่าจะเอาคนทั้งเป็นถ่วง ลงไปในทะเลที่ลึกที่สุด หรือโยนลงไปในหลุมที่ลึก ที่สุด ร่างกายเท่านั้นที่จมอยู่ในทะเลและจมอยู่ในก้น หลุม 
ส่วนวิญญาณจะต้องออกจากร่างกายไปเกิด ใหม่ ไปสร้างชีวิตใหม่ ( ในที่นี้หมายถึงจิตดวงเก่า ดับ และจิตดวงใหม่เกิดขึ้นในทันที เพียงชั่วขณะจิต เดียวเท่านั้น แต่การที่ใช้คำว่า ออกจาก ร่าง ก็เพื่อให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่ายเท่านั้น ) 

ซึ่งวิญญาณของใครจะไปเกิดที่ไหน จะสร้างชีวิตขึ้น มาอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับกฎของกรรม 

คนที่เริ่มเรียนเรื่องวิญญาณ ยังไม่มีความเข้าใจใน เรื่องนี้อย่างกว้างขวางในระยะแรกนี้ ทุกครั้งที่นึกถึง วิญญาณ ให้นึกอย่างนี้ 
ตาเห็น คือ วิญญาณเห็น 
หู ได้ยิน คือ วิญญาณได้ยินฯลฯ
สมองนึกคิด คือ วิญญาณนึกคิด 
ให้พยายามนึกทบทวนอย่างนี้บ่อยๆ พยายามละความเคยชินที่เคยยึดถือมาว่า ตาเห็น หู ได้ยิน โดยเข้าใจว่า การเห็น การได้ยิน เกิดจากตา เกิดจากหูจริงๆ ที่จริงคำว่า ตาเห็น หูได้ยิน เป็นคำ พูดที่เป็นสำนวนเหมือนกับคำว่าคิดถึงบ้าน ศาล ตัดสิน เมื่อเราพูดว่า คิดถึงบ้านนั้น ความจริงเราไม่ได้ คิดถึงบ้าน แต่เราหมายถึงคิดถึงคนที่อยู่ในบ้าน หรือ คนที่อยู่ข้างๆบ้าน และเมื่อพูดว่าศาลตัดสินก็หมาย ถึง ผู้พิพากษาตัดสิน ถ้าหากเราพยายามละความ เคยชินดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ก็ไม่เป็นการยากอะไรเลย ที่จะทำความเข้าใจว่า วิญญาณ คืออะไร
ในธรรมชาติอันนี้ไม่ใช่สิ่งลึกลับ เพราะ วิญญาณได้แสดงตัวออกมาเป็นความรู้สึกนึกคิด ต่างๆอยู่เสมอ พืชทุกอย่างก็มีความรู้สึกต่อสิ่งแวด ล้อมซึ่งความรู้สึกอันนี้ ก็คือปรากฏการณ์ของ วิญญาณ หรือ สัญลักษณ์ ที่แสดงให้รู้ว่าในชีวิตนี้มี วิญญาณ 

 พุทธพจน์ที่แสดงว่า วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง 
ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา
จิตเป็นธรรมชาติไปสู่ที่ไกลได้ เป็นธรรมชาติที่เกิดทีละขณะ ไม่มีสรีระ อาศัยอยู่ในคูหา คือ หทัยรูป ผู้ใดสำรวมจิตได้ผู้นั้นก็จะพ้นจากบ่วง แห่งมารได้ 

ธรรมบท ภาค ๒/๑๓๘ 

คำว่า ทูรงฺคมํ ซึ่งแปลว่า ไปสู่ที่ไกล ในอรรถคาถา อธิบายว่า ความ จริงจิตไม่อาจที่จะไปไหนมาไหนได้ แม้เพียงชั่วระยะทางเท่ากับ เส้น ผ่าศูนย์กลางของเส้นใยแมงมุม แต่ถึงกระนั้นจิตก็สามารถที่จะรับ อารมณ์ แม้อยู่ในที่ไกลได้ ที่ท่านกล่าวว่าจิตไม่สามารถที่จะไปไหนมาไหนได้ ก็เพราะโดยสภาวะจิตเป็นธรรมชาติที่เกิดมาชั่วขณะ แล้วก็ดับ เหมือนกับเปลวไฟ ซึ่งอันที่ดับก็เป็น อันดับไป อันที่เกิดใหม่ไม่ใช่อันเก่า 

สังกมนะของจิต ไม่มี คำว่าสังกมนะหมายถึงสิ่งๆเดียวกัน ก้าวจากจุด หนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง สังกมนะ ตามศัพท์แปลว่า การ ก้าวไป โปรดสังเกตว่า อณูของเปลวไฟแต่ละอันที่ เกิดขึ้นนั้น มันเกิดขึ้นมาเพียงชั่วขณะแล้วก็ดับ ไม่ทันจะก้าวไปไหน 

 คำว่า เอกจรํ ซึ่งแปลว่า จิตเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้น ทีละขณะ ข้อนี่หมายความว่า จิตที่เกิดขึ้นรับอารมณ์ นั้น เกิดขึ้นทีละขณะ เช่นการเห็นกับการได้ยินโดย ความเป็นจริงแล้ว เกิดขึ้นพร้อมกันไม่ได้ ในขณะที่ เกิดการเห็น การได้ยินไม่มีและในทำนองเดียวกัน ในขณะที่เกิดการได้ยิน การเห็นก็ไม่มี ดังนี้เป็นต้น แต่ความรู้สึกของคนทั่วไป มักจะเข้าใจว่าการเห็น กับการได้ยินเกิดขึ้นพร้อมกันได้ ที่รู้สึกเช่นนั้น ก็เพราะจิตที่เกิดขึ้นแต่ละขณะรวดเร็วมาก จึงเข้าใจ ว่ามันเกิดขึ้นพร้อมกัน เช่นเวลาฟังครูอธิบาย ตาก็เห็น หูก็ได้ยิน คนทั่วไปมักเข้าใจว่า การเห็นกับ การได้ยินนั้นเกิดพร้อมกัน แต่โดยความเป็นจริงแล้ว วิญญาณที่เกิดแล้วดับนั้น เหมือนกับเปลวไฟซึ่งเป็น ไปอย่างรวดเร็วมาก ตามสายตาทั่วไป เห็นว่าในเปลว ไฟนั้นมีการลุกเพลิงอยู่เสมอ มองไม่เห็นการเกิด-ดับ ซึ่งเป็นไปอย่างถี่ยิบในเปลวไฟนั้น ( สำหรับผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนาญาณ จนเข้าถึงญาณที่ 4 ที่มีชื่อว่า อุทยัพยญาณ ซึ่งเป็นญาณที่เห็น ความ เกิด-ดับ ของรูป-นาม ก็จะเข้าใจความหมายการ เกิด-ดับของจิตในข้อนี้ได้อย่างแจ่มแจ้ง ) ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ก็พิสูจน์ได้ว่า ในร่างกายนี้ เซลล์มันแตกดับมากมาย ในหนึ่งวินาทีนี่มากมาย เซลล์ของสัตว์ของมนุษย์นี่ประมาณ หกสิบเจ็ดสิบ ล้านตัว แตกดับในหนึ่งวินาทีนี่มากมายแต่มันก็เกิด ชดเชย นี่มันก็เรียกว่าไปตรงคำสอนของพระพุทธเจ้า แสดงไว้ แต่พระพุทธเจ้าพิสูจน์ด้วยปัญญา ไม่ได้ใช้ กล้อง ไม่ได้ใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์มาจับ ร่างกาย ทุกเซลล์นี่แตกสลายอยู่ 

ฉะนั้นเมื่อบุคคลได้เจริญสติ สัมผัส สัมพันธ์เข้าไปที่ร่างกายจะรู้สึกเลยว่า ร่างกายมันไม่ได้อยู่นิ่ง มันมีความรู้สึกไหวกระเพื่อม เพราะว่ามันมีความแตกดับสลายตัวหรือมันรู้สึกมัน พริ้วๆ อยู่ทั่วกาย ไหวๆ  นี่คือรูป เซลล์ก็คือรูปแต่ละ รูปๆ มันแตกดับ 

คำว่า อสรีรํ แปลว่าไม่มีสรีระ ซึ่งหมายความว่า โดยธรรมชาติ จิตไม่ใช่วัตถุหรือเป็นรูปธรรม ซึ่งจะ ต้องมีรูปร่างอย่างใดอย่างหนึ่ง จิตโดยธรรมชาติเป็น นามธรรมไม่มีรูปร่าง ไม่มีสีสันวรรณะ แม้กรณีที่บาง คน เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วเห็นสีต่าง หรือมีแสงสว่าง ปรากฏในใจ ตาสีและแสงนั้น ก็ไม่ใช่ของจิต แต่เป็น สิ่งที่มีความสัมพันธ์อยู่กับจิตเกิดจากจิต 

และที่บาง คนกล่าวว่า เขาเคยเห็นวิญญาณซึ่งเขาหมายถึงเห็น ร่างของคนที่ตายแล้วมาปรากฏ ก็พึงเข้าใจว่า นั่นไม่ ใช่วิญญาณ ( แต่เป็นโอปปาติกะ ) เหมือนกับคนเรา อ่านหนังสือหรือฟังคำพูดแล้วทำให้รู้ว่า จิตใจของ คนเขียนและคนพูดมีลักษณะอย่างไร โปรดสังเกตว่า ตัวอักษรและเสียงที่พูดออกมานั้น ไม่ใช่จิตหรือพูด อีกนัยหนึ่งว่า เป็นปรากฏการณ์ของจิตในทางวัตถุ ในทำนองเดียวกัน คนที่เห็นผีไม่ใช่หมายถึง วิญญาณ โปรดจำให้แม่นว่า จิตหรือวิญญาณเป็น อสรีรํ 

คำว่า คุหาสยํ แปลว่า จิตอาศัยอยู่ในคูหา หรือ แปลว่า มีคูหาเป็นที่อาศัย คำว่า คูหาในที่นี้ ใน อรรถกถาท่านอธิบายว่า ได้แก่ หทัยรูป 

คำว่า หทัย รูป ตามมติของพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้เขียนหนังสือ อรรถกถาท่านบอกว่า ได้แก่หัวใจที่ตั้งอยู่ในทรวงอก

คำว่า สำรวมจิต หมายความว่า คอยระมัดระวังมิให้ เกิดกิเลสขึ้น และกิเลสที่เกิดขึ้นบ่อยๆเพราะความ หลงลืมของสติ ก็พยายามละ และคอยระมัดระวังไม่ ให้จิตเกิดความฟุ้งซ่าน อย่างนี้เรียกว่า สำรวมจิต 

คำว่า พ้นจากบ่วงมาร หมายถึง พ้นจากเครื่อง พันธนาการของกิเลส ซึ่งเมื่อพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ จิตเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์และกิเลสต่างๆ 
 
ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ ทุรกฺขํ ทุนฺนิวารยํ อุชุํ กโรติ เมธาวี อุสุกาโร ว เตชนํ

จิตโดยธรรมดาแม้จะดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษาไว้ได้ ยาก ห้ามไว้ได้ยาก ก็จริง แต่ผู้มีปัญญาซาบซึ้งใน ธรรม ย่อมทำจิตให้นิ่ง ให้สงบ ให้ดำเนินไปในทางที่ ถูกได้ ธรรมชาติผู้สร้างชีวิตคือวิญญาณ 

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า วิญญาณปัจจยา นามรูปัง แปลว่า วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามและรูป ซึ่งคำนี้
อาจจะแปลได้อีกอย่างหนึ่งว่า วิญญาณเป็นผู้สร้าง ชีวิต 

และอีกแห่งหนึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า มโนปุพฺพงฺคมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา แปลว่า วิญญาณเป็นรากฐานของ สิ่งทั้งหลาย ประเสริฐกว่าสิ่งทั้งหลาย สิ่งทั้งหลายสำเร็จมาแต่ วิญญาณ 

และอีกแห่งหนึ่งพระองค์ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าวิญญาณจะไม่ก้าวลงสู่ท้องมารดา นามรูปจะพึง เกิดในท้องของมารดาได้หรือ ? 
พระอานนท์ได้ทูล ตอบว่า  มิได้พระพุทธเจ้าค่ะ 

ครั้นแล้วพระพุทธเจ้าได้ ตรัสว่า เพราะเหตุนี้แลอานนท์ เราตถาคตจึงได้ กล่าวว่า วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป 

ข้อความที่เป็นพุทธพจน์เหล่านี้ถ้าเราศึกษาให้ ละเอียดแล้ว จะทำให้เรารู้แจ้งเกี่ยวกับธรรมชาติ 

ตามความหมายที่เรามักจะพูดกันว่า ชีวิตเกิดขึ้นมา ตามธรรมชาติ ใครจะเกิดขึ้นมาเป็นอะไร มีรูปร่าง ลักษณะอย่างไร เป็นเรื่องของธรรมชาติ สุดแล้วแต่ ธรรมชาติจะสร้างสรรค์ขึ้นมา ไม่มีใครบังคับได้ และ เราก็เข้าใจสืบต่อไปอีกว่า สิ่งที่มีชีวิตที่ดี สิ่งที่ไม่มี ชีวิตก็ดี ทุกอย่างในโลกนี้เกิดขึ้นมาตามธรรมชาติ 

และเมื่อพูดถึงธรรมชาติตามความหมายอันนี้แล้ว ตามความรู้สึกของคนทั่วไปจะบอกว่า มันเป็นเรื่องลึก ลับและที่ร้ายที่สุดก็คือ ใครๆมักจะคิดว่าถ้าเป็นเรื่อง ของธรรมชาติแล้ว เอาชนะไม่ได้ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ คนที่เชื่อเรื่องธรรมชาติ ดังที่กล่าวมานี้ จะมีความ รู้สึกคล้ายๆกับผู้ที่เชื่อว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก เป็น ไปตามประกาศิตของพระผู้เป็นเจ้า เพราะเขาถือว่า พระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้สร้างโลก และสิ่งต่างๆในโลก รวมทั้งกฎเกณฑ์ธรรมชาติต่างๆด้วย เมื่อเราเพาะเมล็ดผลไม้ลงไปในดินในไม่ช้ามันก็จะ งอกขึ้นมา มีลำต้น กิ่ง ใบ ขึ้นมาตามลำดับ 

จะถาม ว่า อำนาจอะไรที่ทำให้เมล็ดผลไม้ต้องงอกออกมา เช่นนั้น ? 
และอำนาจอะไรที่ควบคุมให้เมล็ดผลไม้นั้น เจริญเติบโตไปตามพันธ์ของมัน ?

พวกหนึ่งจะตอบว่า อำนาจที่ว่านั้นคือ ธรรมชาติ 
อีกพวกหนึ่งจะตอบว่า อำนาจที่ว่านั้นคือ พระผู้เป็นเจ้า 
ส่วนพระพุทธองค์ จะทรงตอบว่า อำนาจนั้นคือ วิญญาณ 
เพราะตามข้อ พิสูจน์ ของ พระพุทธเจ้านั้น พระองค์ทรงรู้แจ้งว่า สิ่งที่มีชีวิตทุกอย่างมีวิญญาณ ( คน สัตว์ เป็น วิญญาณระดับสูง เป็นวิญญาณที่มีใจครอง แต่พวก พืชหรือต้นไม้ต่างๆ ก็มีวิญญาณแต่เป็นวิญญาณคน ละตัวกับ คน และสัตว์ เป็นวิญญาณระดับต่ำ หรือ ที่ เรียกว่า วิญญาณที่ไม่มีใจครอง หรือวิญญาณที่ไม่มี สังขาร (สังขาร หมายถึงสิ่งปรุงแต่ง นั่นเอง ) และวิญญาณนี้เองเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ชีวิตเกิดขึ้น 
และวิญญาณนี้อีกเหมือนกัน ที่เป็นตัวการควบคุมการเจริญเติบโต และการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างใน ระบบของชีวิต การที่ชีวิตทุกชีวิตต้องเป็นไปตาม กรรมพันธุ์ และสัตว์ทั้งหลายต้องเป็นไปตามกฎของ 

กรรมก็เพราะวิญญาณ โปรดนึกถึงข้อความที่ว่า วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป วิญญาณเป็นราก ฐานของสิ่งทั้งหลาย สิ่งทั้งหลายสำเร็จมาแต่ วิญญาณ 

โปรดจำไว้อย่างหนึ่งว่า คำว่าธรรมชาติ ใน ความหมายอย่างที่เข้าใจกันอยู่นั้น ไม่เคยมีในระบบ ความคิดของพระพุทธเจ้า 

อนึ่ง แม้พระพุทธเจ้าจะทรงรู้แจ้งเป็นอย่างดีว่า อำนาจที่ควบคุมทุกสิ่งทุกอย่าง และบันดาลให้ทุก สิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นมานั้น มีอยู่อย่างเดียวเท่านั้น คือ วิญญาณ แต่พระองค์ก็ไม่ได้ทรงยกย่องว่า วิญญาณ เป็นพระผู้เป็นเจ้า ที่เราจะต้องเคารพบูชา อ้อนวอน เหมือนศาสนาอื่น พระพุทธเจ้าทรงรู้จักวิญญาณ ใน ฐานะเป็นสิ่งธรรมดาอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับ ดิน น้ำ ลม ไฟ และการที่พระองค์ทรงเรียกสิ่งนี้ว่าวิญญาณ ก็เพราะบรรดาปรากฏการณ์ต่างๆเท่าที่มีอยู่ในโลกนี้ หรือในโลกไหนก็ตาม มีอยู่สิ่งเดียวนี้เท่านั้น ที่สามารถจะรู้สิ่งต่างๆได้ และสามารถที่จะมี ปรากฏการณ์ต่างๆ ออกมาเป็นการเห็น การได้ยิน การ รู้สึกกลิ่น การรู้รส การรู้สึกสัมผัส และความนึกคิด ต่างๆได้ ก็คือวิญญาณ 

คำว่าวิญญาณมาจาก คำว่า วิ+ญาณ 
วิ แปลว่า ต่างๆ 
ญาณ แปลว่า รู้ 
และคำนี้ ถ้าจะเรียกให้เต็มก็เรียกว่า วิญญาณธาตุ ซึ่งแปลว่า ธาตุที่สามารถจะรู้อะไรได้ต่างๆ 

โปรดตั้งข้อสังเกตว่า สสารและพลังงานทุกอย่างทางพุทธศาสนารวม เรียกว่า ธาตุ ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ 

โปรดสังเกตุไว้ด้วยว่า คำว่าธาตุใน ทางพระพุทธศาสนา ไม่จำเป็นต้องหมายถึงสสาร เสมอไป ความร้อนและพลังงานทุกอย่างก็เรียกว่า ธาตุ และในทำนองเดียวกัน วิญญาณซึ่งเป็น พลังงานชนิดหนึ่งและเป็นนามธรรม ก็เรียกว่า ธาตุ สารประกอบทุกอย่างก็เรียกว่า ธาตุ 

ธาตุใน ความหมาย ของพระพุทธศาสนา หมายถึง อะไรก็ได้ ที่เป็นของธรรมดา ซึ่งไม่ได้เกิดจากพระผู้เป็นเจ้า หรือจากอำนาจอะไรซึ่งผูกขาดแต่ผู้เดียว อะไรก็ตาม ที่มีอยู่ในโลกและเกิดขึ้นมาตามเหตุตามปัจจัยของ มัน สิ่งนั้นเรียกว่าธาตุได้ทั้งนั้น 

โปรดสังเกตว่า บรรดาธาตุต่างๆที่มีอยู่ในโลกนี้ ที่สามารถจะรู้สิ่งต่างๆได้ นอกจากวิญญาณแล้วไม่มี เพราะเหตุนี้ พระองค์จึงทรงเรียกสิ่งนี้ว่า วิญญาณธาตุ 

นักวิทยาศาสตร์ในทางชีววิทยาจะบอกว่า สมองและ ระบบประสาทต่างๆเป็นอวัยวะที่ประเสริฐที่สุด เพราะ สมองและประสาทส่วนต่างๆสามารถที่จะรู้สิ่งที่มา สัมผัสได้ และเมื่อได้รับสัมผัสบ่อยๆก็จะมีความรอบรู้ มีความชัดเจนเกิดขึ้น 

แต่ข้อคิดเห็นอันนี้ ขอให้จำไว้ ว่าพระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธ เพราะสมองและประสาท เป็นวัตถุ (หมายถึง เป็นรูป) ตัวมันเองไม่สามารถ จะรู้อะไรได้ ( เป็นแค่เพียงทางผ่าน หรือตัวเชื่อมต่อ หรือสะพาน ให้ รูป (คือ ภาพที่เห็น) รส กลิ่น เสียง สัมผัส ไปสู่ วิญญาณหรือจิต นั่นเอง ) 

การที่นักวิทยาศาสตร์บอกว่าสมองและประสาท สามารถจะรู้อะไรได้ต่างๆนั้น เป็นเพราะนักวิทยาศาสตร์ไม่รู้ว่า ในสมองและประสาททั่วไป มีสิ่งหนึ่ง ที่แทรกซึมอยู่ทั่วไป สิ่งนี้คือวิญญาณ และวิญญาณที่ ว่านี้ แม้จะมีความสัมพันธ์อยู่กับสมองและ ประสาทอย่างใกล้ชิด ยิ่งกว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง ดินกับต้นไม้ก็ตาม 

วิญญาณก็สามารถที่จะแยกตัว ออกจากสมอง และระบบประสาทได้ ขอให้นึกถึงหลักพระพุทธศาสนาที่กล่าวว่า คนเราเมื่อตายแล้ว วิญญาณจะเกิดขึ้นใหม่ในทันที (เกิดขึ้นเร็วมาก เป็น การเกิด-ดับของจิต เป็นจิตดวงใหม่ที่มีการสืบสาย มาจากจิตดวงเก่า ) 

หรืออย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ กันว่าคนเราเมื่อตายแล้ววิญญาณก็ออกจากร่างไป เกิดใหม่ แต่จริงๆแล้วเป็นอย่างที่อธิบายดังข้างต้นว่า เมื่อคนเราตายแล้วจิตเก่านั้นก็ดับไป จิตดวงใหม่ก็ เกิดขึ้นมาในทันที แต่ว่ามันก็มีการสืบสานมาจากอันเดิม เนื่องด้วยตัวกรรมนั้นเอง 

ตามหลักพุทธศาสนาถือว่า หทัยวัตถุ คือศูนย์กลาง ของวิญญาณ
-การเห็น การได้ยินและความรู้สึกต่างๆ เป็นปรากฏการณ์ของวิญญาณ 
-วิญญาณ คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ 
-ตาเห็น ก็คือ วิญญาณเห็น 
-หูได้ยิน ก็คือ วิญญาณได้ยิน 
-จมูกรู้สึกกลิ่น ก็คือ วิญญาณรู้สึกกลิ่น 
-ลิ้นรู้สึกรส ก็คือ วิญญาณรู้สึกรส 
-กายรู้สึกสัมผัส ก็คือ วิญญาณรู้สึกสัมผัส 
-สมองนึกคิด ก็คือ วิญญาณนึกคิด 
ตามรอยศึกษาพระแท้สมเด็จโต https://www.facebook.com/groups/939301739563221

ไม่มีความคิดเห็น: