วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2561

พระสมเด็จฯ กับ น้ำมันตังอิ้ว

นำ้มันตังอิ้ว คือ น้ำมันชักเงาไม้หรือ ในสมัยโบราณเราเรียก น้ำว่าน
เมื่อไม่รู้ก็อยากรู้
น้ำมันผสานเนื้อ กันการปริแตก ที่เรียกว่าเป็นภาษาจีนว่า ตั้งอิ้วภาษาไทยคือ น้ำมันชักเงาไม้ ที่ทำมาจากพวกยางไม้ น้ำมันจากพืช หรือภาษาเดิมๆ ในสมัยโบราณเราเรียก น้ำว่าน
น้ำมันตังอิ้ว คืออะไร ทำไมต้องมี
ในยุคหลังที่มีท่านหลวงวิจารณ์เจียรนัย เป็นหัวเรือใหญ่ของการแกะพิมพ์ ได้มีการใช้น้ำมันตังอิ้วเป็นส่วนผสมสำคัญ ที่กลายมาเป็นสัญญลักษณ์ของพระสมเด็จยุคปลาย ทุกท่านที่ศึกษาพระสมเด็จ จะได้ยินคำที่พูดถึงกันบ่อยๆมาก ก็คือ "น้ำมันตังอิ้ว"
ตามตำนานพระสมเด็จ ได้กล่าวว่า การใช้น้ำมันตังอิ้วนั้น มีในพระการสร้างพระสมเด็จยุคปลาย เพื่อแก้ไขปัญหาการแตกหักของพระสมเด็จที่สร้างขึ้นมาใหม่ๆ ที่แต่เดิมใช้พวกน้ำอ้อยเคี่ยว (น่าจะแบบตังเมเหนียวๆ) ยางไม้ ผลไม้ที่มีความเหนียว (เช่น กล้วย) และแป้งจากข้าว ที่ได้ผลบ้างไม่ได้บ้าง พระจึงเสียหายไปมากพอสมควร แต่มาในยุคหลังที่มีท่านหลวงวิจารณ์เจียรนัย เป็นหัวเรือใหญ่ของการแกะพิมพ์ "ได้มีการใช้น้ำมันตังอิ้วเป็นส่วนผสมสำคัญ ที่กลายมาเป็นสัญญลักษณ์ของพระสมเด็จยุคปลาย" ที่คงทน สวยงาม ไม่แตกร้าว และเป็นที่นิยมสูงสุดมาถึงปัจจุบัน


@จากการวิเคราะห์ตามหลักการทางเคมีอินทรีย์
•น้ำมันตังอิ้ว คือ น้ำมันข้นเหนียว แบบเดียวกับน้ำว่าน จะไม่ค่อยเข้ากับน้ำอย่างเป็นเนื้อเดียวกัน
•อย่างมากก็เป็นแบบ emulsion
•แต่ช่วยรักษาเนื้อพระผงที่กำลังแห้งตัว ให้ทนทานพอสมควร
•โดยทำให้เนื้อพระมีความหยุ่นตัว เหนียวแกร่ง ไม่แตกหักง่าย
•เกาะยึดเนื้อปูนที่กำลังแห้ง
•โดยเฉพาะในระยะแรกๆ ประมาณ 20-30 ปี ที่ยังไม่มีเนื้อปูนดิบมางอกคลุมรักษาเนื้อพระ และ
•ตังอิ้วน่าจะถูกเก็บกักไว้ในเนื้อพระโดยการปิดล้อมของความชื้น (ไม่เข้ากับน้ำ) และ
•การหุ้มห่อของผิวปูนดิบที่ผิวพระ และ
•ตังอิ้วจะเริ่มซึมออกมา ตาม
◦รูเปิด (รูน้ำตา) ทางไหลระบายความชื้นของน้ำปูนเดิมของผิวพระ และ
◦รอยปริ รอยระแหง เมื่อเนื้อพระเริ่มแห้ง
•และหรือ โดนความร้อนบ่อยๆ (เช่นการแขวนพระไว้กับตัวบ่อยๆ)
•หรือโดนความร้อนจากการแช่น้ำร้อน
ที่ทำให้ผิวพระสมเด็จเนื้อปูนดิบ ที่ "ผ่านการใช้"
•มีความหนึกนุ่ม
•ไม่แห้งผาก
•ไม่แตกร้าว ทนทาน
•เหนียวจากด้านใน แกร่งจากผิวปูนด้านนอก
•จึงแข็งประดุจหินอ่อน
•มีคราบตังอิ้วประปราย
ถ้าเข้าใจหลักการทางเคมีนี้แล้ว จะทำให้สามารถเข้าใจ และดูพระสมเด็จเนื้อผงปูนดิบที่มีตังอิ้วได้โดยเข้าใจง่ายขึ้น และเร็วขึ้น


ขอขอบคุณ ที่มาบันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ดร. แสวง รวยสูงเนิน

พระสมเด็จฯ กับ น้ำมันตังอิ้ว

ทุกวันนี้ (ปี ๕๘) ยังมีเรื่องเล่าในหมู่เซียน ที่มักจะใช้อธิบายเรื่องน้ำมันตังอิ๊ว ที่มีความ เกี่ยวพันกันกับส่วนผสมหลักปูนเปลือกหอยในพระสมเด็จวัดระฆังฯ ดังต่อไปนี้ครับ
ในสมัยแรกๆ ที่สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ได้ทำการสร้างพระสมเด็จฯ นั้น ปรากฏว่าพระสมเด็จเกิดร้าว ชำรุด แตกหักเสียหายจากการสร้างในครั้งแรกๆ นั้น...

จนกระทั่ง..หลวงวิจารณ์เจียระไน นายช่างสิบหมู่ ที่เป็นช่างหลวงในวังฯ....ได้ถวาย ความรู้ให้ท่านสมเด็จพุฒาจารย์โตฯ ผสม "น้ำมันตังอิ๊ว"ลงไปในเนื้อพระฯ...ด้วยเพื่อ ทำให้เนื้อพระแกร่ง แข็งแรง...ไม่ร้าวแตกหักเสียหาย.....ง่าย (นี่คือปฐมบท การปรากฏตัวของ "หลวงวิจารณ์เจียระไน")
จากนั้น หลวงวิจารณ์เจียระไน ก็ทำแม่พิมพ์มาถวาย จนปรากฏเป็นพิมพ์ทรง มาตรฐาน บล็อคหลวงวิจารณ์...ที่เช่าหาราคาสูงกันอยู่ในปัจจุบัน ผู้เขียนมีประเด็นให้เพื่อนขบคิดครับ

พระสมเด็จอรหัง ที่สร้างโดยสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน (เป็นพระอุปัชฌา สายตรง) ก็มีเนื้อ มีลักษณเดียวกันกับพระสมเด็จวัดระฆังฯ....สูตรการสร้างเนื้อเดียวกัน ......ท่านควรจะเป็นผู้สอนให้ความรู้ "ศิษย์เอก" ด้วยตัวเอง...ครับ....
หลวงวิจารณ์เจียระไน......เข้ามาคั่นอยู่ระหว่าง...สมเด็จพระสังฆราช...กับ... สมเด็จพุฒาจารย์ฯ.....น่าแปลกใจไหมครับ.....ตัวละครตัวนี้ หลวงวิจารณ์เจียระไน......ทำแม่พิมพ์งดงาม สวยงาม ให้สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี...

ใครสร้างแม่พิมพ์...ให้สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน....กันครับ... พิมพ์ทรงสมเด็จอรหัง...สวยกว่าสมเด็จวัดระฆังฯ ด้วยซ้ำไปครับ ใครแนะนำ....สูตรผสมเนื้อของพระสมเด็จอรหัง...ให้สมเด็จสังฆราชสุก ไก่เถื่อน ก่อนหน้า สมเด็จพุฒาจารย์โตฯ ครับ....55

หลวงวิจารณ์เจียระไน จะสอนสังฆราช ด้วยเหรอ?...จริงเหรอ?....สอนก่อนสอน ท่านสมเด็จโตฯเหรอ...เทียบอายุทันหรือเปล่า..งงงง กับ...เรื่องเล่าของเหล่าเซียนครับ อดคิดเปรียบเทียบไม่ได้..เพราะสูตรเนื้อ และมีพิมพ์ทรงใกล้เคียงกันครับ..... ทีนี้....เข้าเรื่องน้ำมันตังอิ๊วที่เซียนเล่าว่า...หลวงวิจารณ์เจียระไน เป็นคน แนะนำให้สมเด็จพุฒาจารย์โตฯ ผสมลงไปในเนื้อพระเพื่อให้เกิดความแกร่ง เหนียว ไม่แตกหักง่าย.....ลองไปดูคุณสมบัติของน้ำมันตังอิ๊วกันครับเพื่อนๆ

จากพจนานุกรม ของท่านอาจารย์ เปรื่อง ณ นคร ในกลูเกิ้ล ครับ
ตังอิ้ว (จ.) น. น้ำมันชักเงาเครื่องไม้ เรียกว่า น้ำมันตังอิ้ว หรือ ทั่งอิ้ว ได้จากมันเมล็ดต้นทั้ง.
เป็นน้ำมันชักเงาไม้ครับ ทำให้ไม้เงางามขึ้น ผมไปถามช่างไม้ข้างร้าน เมื่อสักครู่..ช่างไม้ (ลุงเปี๊ยก) ท่านอธิบายว่า...เป็นน้ำมันทาไม้ให้เงา เหมือนแลคเกอร์ แต่จะแห้งช้ากว่า...ไม้จะเงาขึ้น..เมื่อทาจะเหนียวๆ เมื่อแห้งจะแข็งตัวได้.... สรุปว่า..เป็นน้ำมันที่แห้งช้ากว่าแลคเกอร์..
แสดงว่า....มีความเป็นน้ำมัน..ย่อมเข้ากับปูนไม่ได้...นั่นเองครับ น้ำมันตังอิ๊วไม่มีคุณสมบัติที่จะทำให้ปูนเกิดปฏิกิริยาปูนเดือด...จนเกิด พรุนปลายเข็มได้...ไม่มีคุณสมบัติทำให้ปูนแข็งตัวได้ แต่ยิ่งจะทำให้ปูนเสื่อมสภาพ แข็งตัวไม่ได้ในที่สุด....คุณสมบัติที่แห้งช้า..เหนียวมือ...วุ่นวาย แม้แต่...จะเป็นเนื้อ ปั้นกด ก็จะเกิดปัญหาเวลาปั้นกดด้วย....

ตกลงว่า....ผสมน้ำมันตังอิ๊วลงไปทำไม?....ไม่ว่าเนื้อก่อนพิมพ์พระฯ... จะเป็นเนื้อที่ถูกสร้างเป็นลักษณะปั้นกดหรือเทหยอด...ล้วนเกิดปัญหาได้ในทุกกรณี เอ่อ...เซียนผู้รู้ ผู้ชำนาญการ อธิบายให้กระจ่างหน่อย...ข้อยปวดเฮด...

หลวงวิจารณ์เจียระไนไม่ได้เป็นช่างไม้ ไม่ได้เป็นช่างปูน...(และผมเองก็ยังไม่รู้เลยว่า หลวงวิจารณ์เป็นช่างอะไร? ในช่างสิบหมู่)....555555 ..หลวงวิจารณ์ฯ...แนะนำให้ สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสีผสมน้ำมันตังอิ๊วลงในเนื้อปูน..ซึ่งจะส่งผลทำให้ปูน เสื่อมสภาพ..ขั้นตอนยุ่งยาก...เสียของ...55555 ผมเลยรู้ว่า...หลวงวิจารณ์เจียรไน เป็น..."ช่าง..ไม่..รู้...อะ...ไร...บ้าง...เลย".......5555

ปั้นกดก็เหนียวเหนอะเลอะเปื้อน....ปูนเสื่อมไม่แห้ง.... เทหยอดนำ้มันก็ไม่เข้ากับน้ำ....เลอะเทอะ...ปูนไม่แห้ง เสื่อมสภาพเช่นกัน เวลากดหลัง ปาดหลัง ตามความรู้เซียนอธิบาย....ยิ่งสร้างปัญหาดีพิลึกครับ..... แล้วสมเด็จโตฯ ก็เชื่อ...หลวงวิจารณ์เจียระไน โดยผสมน้ำมันตังอิ๊ว กับเนื้อปูนนั้น เชื่อและทำ.....ตามที่หลวงวิจารณ์เจียระไน ถวายคำแนะนำ...

ขอขอบคุณ บทความ ที่มา: www.dopratae.com

ไม่มีความคิดเห็น: