วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ หลังมีอักษร "ขลัวโต ร.ศ.๒๔"

‎พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ หลังมีอักษร "ขลัวโต ร.ศ.๒๔" พระสมเด็จเนื้อผงปูนละเอียด




ความจริงขององค์พระสมเด็จ กับการอิงประวัติศาสตร์
ตัวอักษร ถ้าแกะขึ้นพร้อมการสร้าง จะเป็นพระสมเด็จ ไม่ใช่ พระแท้ทันยุค เพราะ ร.ศ. เริ่มใช้ พ.ศ.2432 หลัง สมเด็จโตมรณภาพ (22 มิ.ย.2415)

คำถาม? แกะอักษร "ขลัว โต ร.ศ.๒๔" เกิดขึ้นภายหลังการสร้าง เป็นไปได้หรือไม่ ทำไมต้องแกะ ร.ศ.๒๔  ซึ่งเป็นปีที่ท่านสมเด็จโต เป็นสามเณร มาจำพรรษา ที่วัดระฆัง เพื่อศึกษาธรรมะ

**เจตนา การแกะ พร้อมการสร้าง จึงพอคาดคะเนได้ว่า ไม่ใช่พระสมเด็จทันยุค ท่านสมเด็จโต สร้างแน่นอน ยกเว้น นำพระสมเด็จเดิมที่ทานสมเด็จโตสร้างมาแกะอักษรภายหลัง ซึ่งโอกาสที่จะพอเป็นไปได้น้อย

รัตนโกสินทรศก (ตัวย่อ ร.ศ.;อังกฤษ: Rattanakosin era) รัตนโกสินทร์ศก เป็นศักราช ซึ่งมีจุดเริ่มยุคเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานีของประเทศสยาม เมื่อปีขาล พ.ศ. 2325

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เริ่มนับศักราช รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2432 โดยทรงให้นับปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปีขาล พ.ศ. 2325 เป็น ร.ศ. 1 และให้เริ่มใช้ศักราชนี้ในราชการ ประเทศสยาม ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ร.ศ. 108 โดยให้นับเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปี และเดือนมีนาคมเป็นเดือนสุดท้ายของปี รัตนโกสินทร์ศกจึงมีวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน

ยัอนหลังไปในอดีตก่อนที่การปกครองของกรุงรัตนโกสินทร์จะเป็นปึกแผ่น ในศิลาจารึกและพงศาวดารต่างๆ ของอาณาจักรล้านนา สุโขทัย อยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการนับปีตามแบบจุลศักราช (จ.ศ.) ซึ่งเป็นระบบที่ตั้งขึ้นในประเทศพม่าหลังพุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นเวลา 1181 ปี ทั้งนี้ก่อนหน้านั้นคนไทยในภูมิภาคแถบนี้ จะนับปีในระบบมหาศักราช (ม.ศ.) ซึ่งกษัตริย์ผู้ครองแคว้นคันธาระของอินเดียเป็นผู้ตั้งขึ้น โดยเริ่มภายหลังพุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นเวลา 621 ปี

เท่าที่ปรากฏหลักฐาน ประเทศไทยเป็น เพียงประเทศเดียวในโลก ที่ใช้การนับปีเป็นพุทธศักราช (พ.ศ.) อย่างเป็นทางการทั่วทั้งประเทศ ทั้งนี้เพื่อสร้างเอกลักษณ์ความเป็นไทยกับการเป็นชาวพุทธให้อยู่คู่กัน การนับปีขึ้นศักราชใหม่ หรือการขึ้นปีใหม่นั้น แต่เดิมประเทศสยามกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ โดยเริ่มในรัชสมัย รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2432 ด้วยความยึดถือในประเพณีสงกรานต์ว่าเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ของไทย ทั้งที่เป็นประเพณีของอินเดียตอนใต้ แต่ภายหลังเพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับชาวโลก ในยุคของจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มีการเปลี่ยนวันเริ่มต้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม แทน ตั้งแต่ พ.ศ. 2483 เป็นต้นมา เพื่อให้มีความเป็นสากลเช่นเดียวกับนานาประเทศ

รัตนโกสินทร์ศก เริ่มนับเป็น ร.ศ. 1 เมื่อปี 2325 คือภายหลังพุทธศักราช เป็นเวลา 2324 ปี ดังนั้น การเทียบเปลี่ยนรัตนโกสินทร์ศก เป็นพุทธศักราช จึงเป็นดังนี้ พ.ศ. = ร.ศ. + 2324 และ ร.ศ. = พ.ศ. – 2324

ประเทศไทยใช้รัตนโกสินทร์ศกมาถึง ร.ศ. 131 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงเล็งเห็นประโยชน์และความสะดวกในการใช้ปีพุทธศักราช (พ.ศ.) เพื่ออ้างอิงประวัติศาสตร์ จึงได้ทรงให้ประกาศยกเลิกการใช้รัตนโกสินทรศก (ร.ศ.) ตามประกาศเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 โดยหนังสือราชการทั้งหมดให้เปลี่ยนมาใช้ปีพุทธศักราชแทน แต่ยังคงให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่เหมือนเดิม จนถึง พ.ศ. 2483 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี จึงประกาศเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม ตามระบบสากล

ไม่มีความคิดเห็น: