ตามรอย พระสมเด็จเนื้อดินเผา อุดกริ่ง
ค้นหาประวัติการสร้างพระเครื่อง พระสมเด็จเนื้อดินเผา
เกจิฯที่สร้าง
-พระสมเด็จเนื้อดิน กรุวัดคู้ยาง กำแพงเพชร พระครูธรรมาธิมุตมุนี(กลึง)ผู้สร้างพระต่าง ๆ บรรจุไว้ในเจดีย์ ในราว พ.ศ. 2444 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ พระยาตะก่า ได้ขออนุญาตบูรณะเจดีย์วัดพระบรมธาตุ นครชุมโดยรวมเจดีย์ทั้ง ๓ องค์ ให้รวมกันเป็นองค์เดียวแต่ใหญ่ขึ้นดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน และในการบูรณะครั้งนั้น น่าจะมีพระครูธรรมาธิมุตมุนี(กลึง) ซึ่งเป็นผู้ปกครองวัดและพระสงฆ์สามเณรในจังหวัดนี้นี้เป็นแม่กองงานบูรณะฝ่ายสงฆ์ ฉะนั้น ในการสร้างพระบรรจุที่กรุวัดคูยางของท่าน ส่วนหนึ่งได้นำพระกรุเก่าที่ชำรุดจากเจดีย์วัดพระบรมธาตุมาซ่อมแซมบรรจุไว้ด้ว
.
-พระสมเด็จ เนื้อดินเผา กรุวัดโพธิ์ บางปะอิน อยุธยา วัดเก่า สมัยปลายกรุงศรีอยุธยา พระกรุนี้ก็มีอายุเกือบสามร้อยปี ตามแบบดินเก่าอยุธยา. ... เป็นพระกรุเนื้อดินของเมืองกรุงเก่า แตกกรุเมื่อประมาณปี พ.ศ.2501.
ไม่พบประวัติการสร้าง พระสมเด็จเนื้อดินเผาเก่า อุดกริ่ง..
ตามรอยประวัติ ท่านสมเด็จโต การธุดงค์ ไปเขมร ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า เสด็จธุดงค์ไปราวปี พ.ศ.ใด แต่ที่พอมีหลักบันทึกตำนานเอาไว้ คือ
การธุดงด์ ไปกำแพงเพชร
เมื่อ พ.ศ.2392 เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตแห่งวัดระฆัง ได้ไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบศิลาจากรึกที่วัดเสด็จ จึงทราบว่ามีพระเจดีย์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ฝั่งเมืองนครชุมเก่า ท่านจึงได้ดำริให้เจ้าเมืองออกสำรวจแล้วก็พบเจดีย์ อยู่ 3 องค์ อยู่ใกล้ๆ กัน แต่ชำรุดมาก จึงได้ชักชวนให้เจ้าเมืองรื้อพระเจดีย์เก่าทั้ง 3 องค์ รวมเป็นองค์เดียวกัน แต่เมื่อรื้อถอนแล้วจึงได้พบพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และแตกหักตามสภาพกาลเวลา
ในครั้งนั้นท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต ท่านเห็นว่าเศษพระที่แตกหักนั้นยังมีพุทธคุณอยู่ท่านจึงนำกลับมายังวัดระฆังจำนวนหนึ่งพร้อมกับเศษอิฐและเศษหิน และบันทึกใบลานเก่าแก่ที่ได้บันทึกเกี่ยวกับวิธีการสร้างพระสกุลกำแพงเพชร จึงนำเอาเศษพระกำแพงที่แตกหักมาบดเป็นส่วนผสมในการสร้างพระสมเด็จของท่านจนขึ้นชื่อโด่งดังไปทั่วประเทศ เพราะท่านได้สร้างตามสูตรการสร้างพระซุ้มกอกำแพงเพชร ดังนั้นจะเห็นได้ว่าพระสมเด็จในยุคแรกๆ จะมีลักษณะโค้งมนเหมือนกับพระซุ้มกอเพราะว่าพระซุ้มกอกำแพงเพชรเป็นต้นแบบของพระสมเด็จวัดระฆังนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น