พระสมเด็จวัดระฆัง เนื้อว่านสบู่เลือด คนโบราณเรียกพระสมเด็จแดงกวนอู ท่านทำแจกเฉพาะทหารที่ไปรบกับเงี้ยว เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๐ ขณะนั้นครองสมณศักดิ์เป็นพระธรรมกิติโสภณ
พระสมเด็จฯองค์ครู นามฉายาว่าองค์ "กวนอู" พระองค์ที่ได้รับการกล่าวถึงยกขึ้นเป็นองค์เปรียบเทียบกับพระสมเด็จฯ ที่เข้าสู่วงการในยุคหลังๆบ่อยครั้ง ด้วยความโด่งดังของฉายาที่มีการบอกเล่าสืบกันมาในหลายแง่มุมซึ่งเป็นไปในทางเดียวกัน แต่มีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง ดังนั้นผู้ที่ครอบครองพระสมเด็จฯอย่างแท้จริง คือ คุณบุญยงค์ นิ่มสมบุญ อดีตนายกเทศมนตรีนครธนบุรี เล่าว่า เดิมพระสมเด็จฯองค์นี้เป็นของคุณฉลี ยงสุนทร ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในยุคนั้น ต่อมาคุณก้อนหน่ำ แซ่ใช้ ซึ่งเป็นหนักเล่นพระอยู่กลุ่มเดียวกันได้มา จึงนำมาให้ท่านดู ทำให้เกิดความอยากได้ ด้วยเป็นพระสมเด็จฯ ที่มีความงดงามมากที่สุดองค์หนึ่ง มีจุดที่สีผิวเนื้อพระเป็นสีแดงจางๆ โดดเด่นเป็นเอกลักลักษณ์ จึงติดต่อขอแลกเปลื่ยนแต่ได้รับการปฎิเสธ ด้วยเสี่ยหน่ำ เห็นว่าท่านมีพระสมเด็จฯ อยู่ในครอบครองมากมายหลายองค์แล้ว
แต่ด้วยความอยากได้ตามวิสัยคนรักพระสมเด็จฯ คุณบุญยงค์ จึงใช้วิธีอ้อมซื้อ คือให้พรรคพวกคนสนิทไปติดต่อแทน ใช้เวลาติดตามอยู่นาน กระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๐๐ จึงประสบความสำเร็จได้มาในราคา ๒๐,๐๐๐ บาท ซึ่งนับเป็นราคาที่เป็นประวัติศาสตร์สูงสุดในการแลกเปลี่ยนพระสมเด็จฯ ยุคนั้น ซึ่งราคาปกติของพระสมเด็จฯ ตอนนั้นอยู่ ๒๐๐๐-๕๐๐๐ บาทเท่านั้น เหตุที่มาแห่งซื่อฉายา ได้มาเพราะสีผิวเนื้อพระที่ออกแดงจางๆ ซึ่งเกิดจากเจ้าของพระสมเด็จฯดั้งเดิมนิยมนำพระองค์นี้ห่อผ้ายันต์แดงพกใส่กระเป๋าเสื้อติดตัว นานวันคงได้รับความชื้นจากเหงื่อไคลซึ่งผ่านผ้ายันต์ไปยังองค์พระแต่ไม่ทำให้เกิดความเสียหาย กลับทำให้องค์พระดูสวยมีเสน่ห์แปลกตากว่าพระองค์อื่น ด้วยสีแดงนับเป็นสีมงคลของชาวจีน จึงได้มีนักนิยมพระเชื้อสายจีนคนหนึ่งในยุคนั้นเป็นผู้บัญญัตินามพระองค์นี้ว่าองค์ "กวนอู" ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความสื่อสัตย์ ทำให้คนในวงการพระยอมรับในความพ้องจอง จึ่งนิยมใช้เป็นชื่อพระสมเด็จฯ องค์นี้จนเป็นที่รู้กันทั่วถึงกระทั่งทุกวันนี้ ปัจจุบันพระองค์นี้อยู่ในครอบครองของทายาทในตระกลู "นิ่มสมบุญ"
สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ องค์สภาพโดยรวมสมบูรณ์เต็มร้อย เนื้อพระออกสีแดงกวนอูหรือเนื้อชาดนวหรคุณ ตามที่บรรดานักสะสมรุ่นเก่าได้บันทึกไว้ ส่วนผสมของชาด ปรอด และกำมะถัน นำมาผสมกับผงชาติ+น้ำมัน รวมเรียกว่าชาดหรคุณแล้วนำมาผสมกับผงสมเด็จตามความเหมาะสม ซึ่งนำมาผสมกันครบเก้าชนิด พอสังเขป จัดเป็นเนื้อที่หายากสุดๆ พบค่อนข้างน้อยมาก
ในทำเนียบพระวัดระฆังมีการผสมว่านวคำบดีหรือว่านสบู่เลือดมีมาตั้งแต่ในยุคของ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) ตัวอย่างเช่น องค์กวนอู หรือเนื้อโกเดที่เป็นองค์ดาราล้วนเป็นพระที่เข้าว่านสบู่เลือด วรรณะจะออกแดงน้ำตาล ส้ม หรือแดงชมพูอ่อนๆทั้งนี้อยู่ที่ความเข้มข้นของว่าน การเข้าว่านวคัมบดีหรือว่านสบู่เลือดเพื่อพึ่งพุทธคุณทางคงกระพันชาตรีเพิ่มขึ้น เป็นเนื้อที่มีพระจำนวนน้อยกว่า เป็นเนื้อหายาก ว่านสบู่เลือดสมัยโบราณจะใช้ยางของว่านสบู่เลือดซึ่งมีสีแดงอ่อนๆ ใช้ในการสักยันต์คงกระพัน ว่านสบู่เลือดมีทั้งตัวผู้และตัวเมีย ตัวผู้หัวจะยาวยาว ตัวเมียหัวจะออกกลม การใช้เป็นส่วนผสมทำวัตถุมงคลจะใช้ทั้งหัวสดและยาง (จะได้สีแดง) รวมทั้งหัวตากแห้งนำมาบด(จะให้สีออกน้ำตาลแดง) วัตถุมงคลที่ผสมเนื้อว่านสบู่เลือดเป็นหลักก็จะได้สีออกน้ำตาลแดง
สบู่เลือดจัดเป็นไม้ล้มลุก มีหัวใต้ดินใหญ่ กลม เปลือกหัวสีน้ำตาล เนื้อในสีขาวนวล รสชาติมันและเฝื่อนเล็กน้อย ลำต้นแทงขึ้นจากหัว โค้งงอลงพื้นดิน ใยเดี่ยวเรียงสลับ เกือบกลม หลรือกลมคล้ายบัว แต่ขนาดเล็กกว่า ดอกออกเป็นช่อกระจุก เเยกเพศสีเหลือง ไม่มีกลีบดอก สรรพคุณของสบู่เลือด ต้นกระจายลมที่แน่นในอก ใบใช้บำรุงธาตุไฟ ใส่บาดแผลสดและเรื้อรัง ดอกฆ่าเชื้อโรคเรื้อน ทำให้อุจจาระละเอียด เถาขับโลหิตระดู ขับพยาธิในลำใส้ ห้ว/ก้าน แก้เสมหะเบื้องบน ทำให้เกิดกำลัง บำรุงกำหนัด รากบำรุงประสาท ถ้าใครไม่เคยรู้จักสบู่เลือดแล้วเกิดสนใจอยากลองศึกษาก็หามาศึกษาค้นคว้าได้นะค่ะเป็นสมุนไพรที่น่าสนใจเลยทีเดียวสมุนไพรไทยนั้นจะว่าไปก็มีหลากหลายชนิดด้วยกันแต่ละชนิดนั้นก็มีความสามารถรักษาโรคได้หลากหลาย สมุนไพรบางชนิสามารถรักษาได้หลายโรคและโรคเดียวกันอาจจะมีสมุนไพรที่รักษาได้หลายชนิดเช่นกัน ถ้าเราศึกษาแล้วจะค้นพบว่าสมุนไพรแต่ละชนิดนั้นมีความน่าสนใจและมีความน่ารูหลากหลายแตกต่างกันไป สมุนไพรจะมีความน่าสนใจเฉพาะตัวที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ว่าเราสนใจชนิดไหน เช่นสบู่เลือดถ้ากินเดือนละครังจะช่วยให้ไม่เป็นโรคความจำเสื่อ ดอกของสบู่เลือดนำเอามาต้มฆ่าเชื้อโรคเรื้อนได้ หัวแก้เสมหะ ทำให้มีกำลัง เถาของสบู่เลือดนำเอามาขับโลหิตให้มีประจำเดือนออกมาเป็นปกติ ใครที่อุจจาระไม่ละเอีนด ก็สามารถนำดอกมากินช่วยให้อุจาระละเอียดได้ด้วย
ที่มา : คัดลอดจากบันทึก อ.ประชุม กาญจณวัฒน์ เมื่อปี2510
พระสมเด็จเพื่อศึกษา พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ เนื้อพระสีแดงกวนอู
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น