หลวงปู่ลำภู

ประวัติ หลวงปู่ลำภู คังคปัญโญ วัดใหม่อมตรส (วัดบางขุนพรมนอก)


เมื่อกล่าวถึง "พระสมเด็จบางขุนพรหม" ที่นักเล่นพระทั้งหลายนิยมสะสมกัน ไม่ว่าจะเป็น พระสมเด็จบางขุนพรหม ปี 2509, ปี 2517, ปี 2531 และอีกหลายๆ รุ่น ก็ทำให้อดนึกถึงพระสมเด็จบางขุนพรหมของ "พระครูอมรคุณาจาร" หรือ "หลวงปู่ลำภู คังคปัญโญ" อดีตรองเจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร ไม่ได้ เพราะว่ากันตามจริงแล้วพระกรุบางขุนพรหมเปิดกรุเมื่อปีพ.ศ.2500 เมื่อคัดพระที่สมบูรณ์ออกจำหน่ายแล้ว หลวงปู่ลำภูได้นำพระหักมาเก็บรักษาไว้ในกุฏิ ซึ่งหลวงปู่ลำภูท่านเป็นหนึ่งในกรรมการในการเปิดกรุพระบางขุนพรหมด้วย

ต่อมาบรรดาผู้คนที่ รู้ข่าวก็มักจะมาขอพระหลวงปู่ลำภูอยู่เป็นประจำจนท่านได้ตัดสินใจนำ "พระกรุบางขุนพรหม" ที่หักมาบดเป็นผงจนละเอียด แล้วนำผงมาผสมมวลสารและกดพิมพ์พระสมเด็จบางขุนพรหมปี พ.ศ.2502 ซึ่งมีทั้งเนื้อผงและเนื้อผงใบลาน มีทั้งหมด 11 พิมพ์ คือ
1.พิมพ์ใหญ่
2.พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม
3.พิมพ์ใหญ่ต้อ
4.พิมพ์อกครุฑ
5.พิมพ์เส้นด้าย
6.พิมพ์ฐานคู่
7.พิมพ์ฐานแซม
8.พิมพ์ปรกโพธิ์
9.พิมพ์คะแนน
10.พิมพ์จันลอย ส่วน
11.พิมพ์ไสยาสน์นั้น


หลวงปู่ลำภูได้สร้างน้อยมาก เพื่อแจกให้กับลูกศิษย์และผู้ศรัทธาที่มาหา และมากราบไหว้ เก็บส่วนหนึ่งนำลงฝังกรุและนำออกมาเปิดบูชาอีกทีเมื่อปีพ.ศ.2519 และในครั้งนั้นก็มีผู้ศรัทธาเลื่อมใสมาอาบน้ำมนต์รักษาโรคกับหลวงปู่ลำภู เป็นจำนวนมาก


จะ ว่าไปแล้วพระเครื่องที่หลวงปู่ลำภูสร้างไว้มีอีกมาก ทั้งพระสมเด็จปี 2514 หลังยันต์ และเหรียญรูปไข่ เหรียญเม็ดแตงรุ่นแรกปี 2514 พระสมเด็จปี 2516, ปี 2517 ออกที่วัดไก่จ้น แล้วยังมีพระสมเด็จปี 2519 ที่เปิดกรุออกมา

สำหรับ ประวัติของ "หลวงปู่ลำภู" นั้น ท่านนามเดิมว่า "ลำภู เรืองนักเรียน" เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2444 ตรงกับวันพุธ แรม 2 ค่ำ เดือน 12 ปีฉลู ณ บ้านไก่จ้น ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายคง นางผิว เรืองนักเรียน มีพี่น้องรวม 10 คน



อุปสมบทเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2465 ณ วัดไก่จ้น หลังจากบวชแล้วท่านได้ศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรมจนสามารถอ่านออกเขียนได้ ทั้งภาษาไทยและภาษาขอม ต่อมาปี 2469 ท่านย้ายจากวัดไก่จ้นไปอยู่วัดช่างทอง จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่ออยู่ศึกษาและปฏิบัติกัมมัฏฐานเป็นเวลา 7 ปี สอบนักธรรมชั้นตรี ได้เมื่อปี 2473 ที่วัดหนองเขื่อนช้าง จ.สระบุรี

จากนั้นปี 2477 ก็ย้ายจากวัดช่างทอง ไปอยู่วัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) กรุงเทพฯ เพื่อศึกษาต่อ ได้รับตำแหน่งรองเจ้าอาวาส เมื่อปี 2502 ทั้งที่ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส แต่หลวงปู่ลำภูบอกว่า "ผมแก่แล้วไม่สามารถทำหน้าที่เจ้าอาวาสได้ ขอให้พิจารณาพระที่มีอายุพรรษาสมควรแก่หน้าที่ต่อไป" การสละสิทธิ์ที่จะพึงได้ของหลวงปู่ลำภูได้ประกาศในที่ประชุมคัดเลือกเจ้า อาวาสในครั้งนั้นเป็นการเสียสละอันยิ่งใหญ่ ปี 2510 ท่านได้เป็นพระครูสังฆรักษ์ ตำแหน่งฐานานุกรม ต่อมาได้รับตำแหน่ง รักษาการแทน เจ้าอาวาสเมื่อปี 2512 หลวงปู่ลำภูมรณภาพด้วยโรคชราที่กุฏิของท่านในวัดใหม่อมตรส เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2533 เวลา 20.15 น. สิริอายุ 88 ปี 9 เดือน 4 วัน

คำระลึก อนุสรณ์กถาถึงหลวงพ่อลำภู (พระครูอมรคุณาจาร) ของพระครูพิพัฒนานุกูล เจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม ความว่า "หลวงพ่อเป็นพระมหาเถระสำคัญรูปหนึ่งของวัดใหม่อมตรส ท่านเป็นพระเถระผู้รัตตัญญู ผู้มีคุณูปการสำคัญต่อวัดเป็นเวลายาวนาน คณะสงฆ์วัดใหม่ฯ ให้ความเคารพบูชาอย่างสูงยิ่งมาโดยตลอด พระสงฆ์-สามเณรได้รับการอุปถัมภ์บำรุงอย่างทั่วถึง โดยทุกท่านผู้อยู่ทันสมัยหลวงพ่อมีชีวิตอยู่จะได้พึ่งบารมีของหลวงพ่อทั้ง วัด ตอนหลวงพ่อลำภูเป็นรองเจ้าอาวาสและเป็นพระอาจารย์พระครูบริหารคุณวัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาส เมื่อเจ้าอาวาสวัดใหม่ฯ ว่างลงท่านไม่รับตำแหน่งเจ้าอาวาส ยกให้พระครูบริหารเป็น เพราะเห็นว่ายังหนุ่มกว่า ด้วยความที่ท่านมีอัธยาศัยไมตรีจิตที่ดีต่อทุกคน เมื่อได้พบท่านกราบท่านแล้วดูจะเอิบอิ่มใจ เพราะหลวงพ่อมีดีกับตัวที่หายาก และท่านก็ศักดิ์สิทธิ์มีมนต์ขลังจริง มีผู้ศรัทธาเลื่อมใสมาอาบน้ำมนต์รักษาโรคจำนวนมาก พระสงฆ์สามเณรอบอุ่นมาก คราวที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ยิ่งกว่าร่มโพธิ์ร่มไทร

ถึง ปัจจุบันนี้ก็ยังมีหลายท่านรำลึกเสมอในบุญหลวงพ่อพระครูอมรคุณาจาร (ลำภู คังคปัญโญ) หลวงพ่อท่านสร้างความดีไว้มากเพื่อต้องการให้อยู่เลยตาย ตามคำนิยมที่รู้กันว่า อยู่แค่ตายอยู่ได้ทุกคน อยู่เพื่อปวงชนอยู่ได้เลยตาย หรืออยู่เพื่อตัวอยู่ได้แค่สิ้นลม อยู่เพื่อสังคมอยู่คู่ฟ้าดิน"

"พระครูอมรคุณาจาร" หรือ "หลวงปู่ลำภู คังคปัญโญ" อดีตรองเจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม กรุงเทพ มหานคร ศิษย์ต่างก็นิยมเรียกกันติดปากว่า "หลวงพ่อ" ท่านอยู่วัดใหม่อมตรส จนถึงวินาทีสุดแห่งชีวิตท่านได้จากศิษยานุศิษย์ไปด้วยความชราของสังขารและ กาลเวลา สรีระของท่านไม่เน่าไม่เปื่อย ได้จัดงานพระราชทานเพลิงไปแล้ว เป็นเวลานานถึงวันนี้ร่วม 20 กว่าปีที่ท่านมรณภาพ คณะศิษย์ก็ยังตามเคารพกราบไหว้บูชาอยู่ ทุกวันที่ 1 กันยายนของทุกปี

สำหรับประวัติการสร้างพระสมเด็จของหลวงปู่ลำภู จากอดีตเมื่อปี 2500 วัดใหม่อมตรส(บางขุนพรหม) ได้ทำพิธีเปิดกรุเจดีย์ภายในวัดอย่างเป็นทางการ ซึ่งภายในเจดีย์บรรจุพระเครื่องที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้ ก่อนหน้าจะเปิดกรุนั้นเจดีย์เกิดชำรุดผุพัง มีคนแอบมาตกพระออกจากเจดีย์ จนทางวัดต้องเปิดเจดีย์นำพระออกมาให้บูชา ซึ่งพระในเจดีย์ก็มีทั้งสภาพที่ดีและชำรุดแตกหัก แต่ทางวัดได้คัดเอาพระสภาพที่ดีออกให้บูชา ส่วนพระที่หักได้เก็บไว้

ตรงนี้เองที่จะกล่าวถึงการสร้างพระบางขุนพรหมปี 2502 เพราะตอนนั้น "หลวงปู่ลำภู" ได้เป็นกรรมการในการเปิดกรุ ซึ่งในขณะนั้นท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส ส่วนพระที่หักหรือชำรุดจึงเก็บรักษาไว้ที่กุฏิหลวงปู่ลำภู พอผู้คนและบรรดาลูกศิษย์ทราบก็มาขอท่านอยู่บ่อยๆ จนท่านได้ตัดสินใจ นำพระสมเด็จบางขุนพรหมที่หักมาบดจนละเอียด แล้วนำมาผสมผงมวลสารวิเศษต่างๆ และสมเด็จวัดระฆังฯ นำมาผสมสร้างเป็นพระสมเด็จบางขุนพรหมปี 2502 ทุกพิมพ์หลังเรียบทั้งหมด

จากคำบอกเล่าของ พระครูสุทธิธรรมากร หรือหลวงตาประยูร ปัญญาภรโณ เจ้าอาวาสวัดไก่จ้น รูปปัจจุบัน ซึ่งเป็นลูกบุญธรรมหลวงปู่ลำภู กล่าวว่าช่างที่แกะพิมพ์พระคือ "นายเสน่ห์" ลูกศิษย์หลวงปู่ลำภูที่เคยบวชอยู่กับท่านได้แกะพิมพ์พระไว้ทั้งหมด 11 พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ใหญ่ต้อ พิมพ์อกครุฑ พิมพ์ฐานคู่ พิมพ์ฐานแซม พิมพ์เส้นด้าย พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์คะแนน พิมพ์จันลอย และพิมพ์ไสยาสน์

โดยเฉพาะพิมพ์ไสยาสน์ หลวงปู่ลำภู ท่านสร้างไว้น้อยมากๆ และพระที่เหลือท่านก็ได้นำลงฝังกรุที่วัดบางขุนพรหม เท่าที่สังเกตพระที่หลวงปู่ลำภูจารให้นั้นท่านจะจารแค่เลข ๙ เท่านั้น และต้องเป็นเลข ๙ ไทยเท่านั้นด้วยต่อจากนั้นหลวงปู่ลำภูท่านก็มาสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหมปี 2514 คราวนั้นหลวงปู่ลำภูท่านไม่ได้สร้างครบทุกพิมพ์ เท่าที่ทราบมาจะมีพิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เส้นด้าย พิมพ์จันลอย ด้านหลังของพระรุ่นนี้จะต้องกดยันต์จม พร้อมกับคำว่า "หลวงพ่อลำภู" ทุกองค์

ส่วนเนื้อผงมวลสารนั้นก็มีส่วนผสมของพระสมเด็จบางขุนพรหมอยู่ด้วย แล้วก็ยังมีเหรียญรูปไข่รุ่นแรกพิมพ์นั่งสมาธิเต็มองค์และเม็ดแตงอีก แล้วหลวงปู่ลำภูยังได้เชิญพระสหายธรรมและพระที่นับถือมาร่วมพุทธาภิเษกที่ กุฏิของท่านอีกด้วย ส่วนเหรียญรุ่นที่ 2 นั้น หลวงปู่ลำภูออกเมื่อปี 2515 เป็นเหรียญรูปไข่ ต่อมาก็สร้างพระสมเด็จ ปี 2516, ปี 2517 นั้นได้ไปออกที่วัดไก่จ้น

จากนั้นปี 2519 หลวงปู่ลำภู ก็ได้เปิดกรุพระของท่าน นำพระออกมาแจกให้ลูกศิษย์ แต่ท่านดูแล้วว่าคงจะไม่พอ จึงได้สร้างพระเพิ่มขึ้นมาอีก ต้องทำตราปั๊มที่ด้านหลังเพื่อบอกพ.ศ.มาปั๊มไว้ที่พระ เพราะฉะนั้นพระรุ่นนี้จึงมีทั้งพระสมเด็จปี 2502 ฝังกรุไม่ปั๊มตรา และพระสมเด็จปี 2502 ฝังกรุปั๊มตรา และพระสมเด็จใหม่ปั๊มตราปี 2519 เอาไว้ ส่วนพระพิมพ์คะแนนนั้นไม่ได้ปั๊มตราเลย

จนเมื่อถึงปี 2521 หลวงปู่ลำภูก็ได้จัดงานกฐินและผ้าป่าสามัคคีไปที่วัดไก่จ้น เพื่อสมทบทุนสร้างอุโบสถ ซึ่งในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินยังวัดไก่จ้น เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2521 ทรงประกอบพิธียกช่อฟ้าอุโบสถ ทรงตัดลูกนิมิต ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่เกศพระประธานในอุโบสถ ทรงลงพระปรมา ภิไธยและพระนามาภิไธยที่แผ่นศิลา ทรงพระสุหร่ายพระประธานในพระอุโบสถ และพระประธานจำลองพระประธานอุโบสถ และทรงปลูกต้นพิกุลด้านหน้าอุโบสถ 2 ต้น รวมถึงพระราชทานทรัพย์ร่วมทำบุญบำรุงวัดด้วย

"พระครูอมรคุณาจาร" หรือ "หลวงปู่ลำภู คังคปัญโญ" อดีตรองเจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร ท่านได้นำมวลสารผงสมเด็จบางขุนพรหมมาสร้าง พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่จัมโบ้ ออกที่วัดบางขุนพรหม ด้านหลังพระปั๊มยันต์หมึกสีน้ำเงินเขียนว่า "อนุสรณ์สร้างโบสถ์วัดไก่จ้น" หลวงปู่ลำภูวัดใหม่ฯสร้าง และพิมพ์สมเด็จให้ประชาชนบูชาส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งนำมาฝังใต้ฐานพระประธาน

จากนั้นได้เปิดกรุใต้ฐานพระ ประธานแล้ว นำพระออกมาส่วนหนึ่งเพื่อนำพระออกมาให้ประชาชนบูชาเมื่อปี 2542 ส่วนเหรียญนั้นหลวงปู่ลำภูสร้างแค่รุ่นเดียว เป็นเหรียญทรงกลมด้านหน้ามีรูปหลวงปู่ลำภูครึ่งองค์ ส่วนด้านหลังมีอักษรย่อพระปรมาภิไธย และเขียนว่าที่ระลึกสร้างพระอุโบสถวัดไก่จ้น ปี 2521 พอปี 2522 หลวงปู่ลำภู ก็ได้สร้างพระสมเด็จขึ้นมาเพียงรุ่นเดียวพิมพ์เดียวคือ "พิมพ์ใหญ่" เท่านั้น ด้านหน้าโรยผงกรุบางขุนพรหม ส่วนด้านหลังเป็นตัวหนังสือนูนว่า "วัดไก่จ้น ๒๕๒๒" และมีอักษรย่อพระปรมาภิไธย

ส่วนปี 2524 นั้น หลวงปู่ลำภูไม่ได้สร้างพระเนื้อผงเลย ท่านสร้างแค่เหรียญรูปไข่เนื้ออัลปาก้าหน้าตรง รอบเหรียญมีจุดไข่ปลา หลังเหรียญก็จุดไข่ปลารอบเหรียญเช่นกัน และเขียนว่าที่ระลึกทำบุญอายุ 80 ปี พ.ศ.2524 ส่วนพระบูชารูปเหมือนหลวงปู่ลำภูนั้น ทางวัดไก่จ้นได้สร้างถวายหลวงปู่ลำภู จึงถือว่ารุ่นนี้คือ "รุ่นสุดท้ายของหลวงปู่ลำภู" วัดไก่จ้น คือที่พำนักยามสิ้นอายุขัยของพระครูอมรคุณาจาร (หลวงปู่ลำภู)

ยามเมื่อหลวงปู่ลำภูมีอายุมาก ท่านได้สร้างวิหารส่วนตัวไว้ที่วัดไก่จ้น ท่านได้สั่งไว้ว่า ยามเมื่อท่านสิ้นอายุขัยแล้ว ให้ย้ายศพท่านกลับมาบ้านเกิด ที่วัดไก่จ้น เมื่อปี 2533 หลวงปู่ลำภูได้สิ้นอายุขัยด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 1 กันยายน เวลา 20.15 น. รวมอายุขัยได้ 88 ปี 9 เดือน 4 วัน สังขารของท่านตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดใหม่อมตรส เป็นเวลา 1 ปี แล้วจากนั้นก็ย้ายมาที่วิหารที่หลวงปู่ลำภูสร้างไว้ที่วัดไก่จ้น

สังขาร หลวงปู่ลำภูนั้นไม่เน่าไม่เปื่อย จวบจนปี 2552 คณะศิษย์ส่วนมากเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะจัดการพระราชทานเพลิงศพตามประเพณีนิยม เพราะเป็นการปลงภาระซึ่งคณะศิษย์รับไว้ ยิ่งนานต่อไปคณะศิษย์ก็ลดลงทุกวัน จึงเป็นความสมควรอย่างยิ่ง วันที่พระราชทานเพลิงศพ วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2552 เวลา 16.00 น.

สำหรับประวัติวัดไก่จ้น ถิ่นกำเนิดสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ตั้งอยู่เลขที่ 1 บ้านไก่จ้น ม.10 ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระ นครศรีอยุธยา วัดตั้งตรงข้ามกับวัดสะตือ มีเพียงแม่น้ำกั้น แต่มีสะพานแขวนข้ามไปมาหากันได้

วัดไก่จ้น เป็นวัดเก่าแก่ ไม่มีหลักฐานปรากฏว่าใครเป็นผู้สร้าง ตั้งขึ้นเป็นวัดเมื่อปี 2375 เดิมเรียกว่า วัดบ้านไก่จ้น มีหลักฐานปรากฏในครั้งพระราชทานวิสุงคามสีมาของพระอุโบสถหลังเก่า ความว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานวิสุงคามสีมาให้แก่ วัดบ้านไก่จ้น เมื่อคราวพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสวัดสะตือ ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับวัดบ้านไก่จ้น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระ ราชดำเนินวัดไก่จ้น เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2521 ทรงประกอบพิธียกช่อฟ้าพระอุโบสถ ทรงตัดลูกนิมิต ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่เกตุพระประธานในพระอุโบสถ ทรงลงพระปรมาภิไธยและพระนามาภิไธยที่แผ่นศิลา ทรงพระสุหร่ายพระประธานในพระอุโบสถและพระประธานจำลองพระประธานพระอุโบสถ และทรงปลูกต้นพิกุลด้านหน้าพระอุโบสถ 2 ต้น พระราชทานทรัพย์ทำบุญบำรุงวัดจำนวนหนึ่ง

ปี 2523 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินวัดไก่จ้น เมื่อวันที่ 8 เมษายน ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์วิหารสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ทรงเททองหล่อพระพุทธรูปจำลองพระประธานพระอุโบสถ ทรงลงพระนามาภิไธยที่แผ่นศิลา และทรงเสด็จฯเยี่ยมประชาชนที่มาเฝ้าฯรับเสด็จ

ต่อมาปี 2530 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จแทนพระองค์ไปวัดไก่จ้น เมื่อวันที่ 17 เมษายน ทรงประกอบพิธีเปิดวิหารสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ทรงพระราชทานของแก่ผู้มีจิตศรัทธา ทรงปลูกต้นสาละไว้ 1 ต้น ด้านทิศใต้ของพระอุโบสถ และทรงเสด็จเยี่ยมประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จด้วย

วัดไก่จ้นในปัจจุบันมี พระครูวิสุทธิธรรมากร (ประยูร ปัญญาภรโณ) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ผู้ทำนุบำรุงดูแลวัดเป็นอย่างดี และยังเป็นผู้ที่รู้ข้อมูลพระเก่าของหลวงปู่ลำภูทั้งหมดด้วย นักสะสมสนใจลองแวะสัมผัสกันดู

คอลัมน์ มุมพระเก่า อภิญญา ประวัติการสร้างพระสมเด็จ หลวงปู่ลำภู คงคฺปัญโญ
เมื่อ...วันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ทาง วัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) ได้พบว่ามีผู้ลักลอบขุดเจาะกรุเข้าไปในเจดีย์  นับเป็นการขุดเจาะกรุสำเร็จเป็นครั้งแรก เมื่อพยายามป้องกันและจัดเวรยามเฝ้าเจดีย์อย่างไรก็ไม่ได้ผลยังมีคนลักลอบตกพระสมเด็จอยู่

(ขอขอบคุณ ข้อมูลจากคุณ nukro09 (1892))

พระครูอมรคณาจารย์(เส็ง)เจ้าอาวาสในขณะนั้น จึงนำเรื่องเข้าหาพระเถระผู้ใหญ่เพื่อแจ้งถึงสาเหตุที่เกิดและแต่งตั้งคณะกรรมการโดยท่านเจ้าคณะอำเภอพระนครเป็นประธาน พระสงฆ์ใน วัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) ร่วมเป็นกรรมการ ฝ่ายฆาราวาสได้เชิญ นายบุญทอง เลขกุล เป็นประธานและได้เชิญ ฯพณฯท่านพลเอกประพาส จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในการเปิดกรุเจดีย์ วัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส)

ในวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๐ ทางวัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) ได้ทำพิธีเปิดกรุเจดีย์อย่างเป็นทางการ ซึ่งภายในเจดีย์บรรจุพระสมเด็จที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างและบรรจุไว้ ซึ่งในตอนเปิดกรุเจดีย์นั้น พบว่าพระสมเด็จในเจดีย์ มีทั้งสภาพพระสมเด็จที่สมบูรณ์และพระสมเด็จที่ชำรุดแตกหัก

ในสมัยนั้นหลวงปู่ลำภู ท่านดำรงตำแหน่งเป็นรองเจ้าอาวาส วัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) ท่านเป็นหนึ่งในคณะกรรมการในการตรวจนับพระสมเด็จตอนเปิดกรุเจดีย์ วัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) ทางคณะกรรมการวัดได้คัดเอาพระสมเด็จสภาพที่ดีออกให้ผู้ศรัทธาบูชา ส่วนพระสมเด็จที่แตกหักหรือชำรุด ทางวัดไม่ได้ให้ความสำคัญนัก หลวงปู่ลำภูท่านจึงได้นำพระสมเด็จที่แตกหักชำรุดมาเก็บรักษาไว้ที่กุฏิของท่าน โดยบรรจุในหีบเหล็กจำนวน ๓๐ใบ พอผู้คนและบรรดาลูกศิษย์ทราบก็มาขอท่านอยู่บ่อยๆ ท่านจึงได้ตัดสินใจนำพระสมเด็จบางขุนพรหมที่แตกหักมาทำการแช่น้ำ เพื่อร่อนกรองแยกดินจากกรุออกจากเศษพระสมเด็จที่ชำรุดแตกหัก แล้ว นำมาบดตำเป็นผง เพื่อผสมกับมวลสารสำคัญและผงวิเศษต่างๆที่ท่านจัดเตรียมไว้ นำมาผสมสร้างเป็นพระสมเด็จ
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ จึงเป็นปฐมบทของการสร้างพระสมเด็จของท่าน ที่ วัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) การสร้างพระสมเด็จของท่านเป็นการสร้างแบบเป็นวาระ กล่าวคือหากพระที่ท่านจัดสร้างเสร็จแล้วได้แจกศิษยานุศิษย์หมดไป ท่านก็จะเกณฑ์หมู่ศิษย์มาช่วยกันสร้างพระสมเด็จเป็นแบบนี้เรื่อยมา

แบบพิมพ์พระสมเด็จของพระสมเด็จ หลวงปู่ลำภู

จากคำบอกเล่าของ พระครูสุทธิธรรมากร หรือ หลวงตาประยูร ปัญญาภรโณ เจ้าอาวาสวัดไก่จ้น (ท่านเป็นศิษย์เอกและเป็นบุตรบุญธรรมของหลวงปู่ลำภู) กล่าวว่า ช่างที่แกะพิมพ์พระสมเด็จให้หลวงปู่ลำภู คือ " นายเสน่ห์ " ลูกศิษย์หลวงปู่ลำภู ที่เคยบวชอยู่กับท่านได้แกะพิมพ์พระสมเด็จด้วยหินมีดโกนถวายไว้ เค้าโครงแบบพิมพ์มาจากพิมพ์พระสมเด็จกรุบางขุนพรหม โดยพิมพ์หลักๆที่จัดทำมีอยู่ด้วยกัน ๑๑ แม่พิมพ์ คือ
๑.พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม
๒.พิมพ์ใหญ่
๓.พิมพ์ใหญ่ต้อ
๔.พิมพ์อกครุฑ
๕.พิมพ์ฐานคู่
๖.พิมพ์ฐานแซม
๗.พิมพ์เส้นด้าย
๘.พิมพ์ปรกโพธิ์
๙.พิมพ์คะแนน
๑๐.พิมพ์จันลอย และ
๑๑.พิมพ์ไสยาสน์
สำหรับพิมพ์ไสยาสน์ หลวงปู่ลำภู ท่านสร้างไว้น้อยมากๆ ท่านแจกลูกศิษย์ไปไม่กี่องค์ และพระที่เหลือท่านได้นำลงฝังกรุที่วัดบางขุนพรหม

ตามประวัติมีบันทึกไว้ชัดเจนว่าหลวงปู่ลำภูท่านได้นำส่วนของเศษพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่าในตอนที่เปิดกรุวัดบางขุนพรหมปี2500 ตำผสมไว้ในพระสมเด็จที่ท่านสร้างเป็นจำนวนมากนั่นเอง จึงจัดเป็นหน่อเนื้อเชื้อสมเด็จบางขุนพรหมแบบตรงๆ(คือเนื้อสมเด็จเก่าผสมไว้เยอะ)
ในอันดับแรก ขอนำเสนอภาพพรีวิว คือ
พระสมเด็จพิมพ์เกศทะลุซุ้ม (ซึง่เป็นพิมพ์แรกที่หลวงปู่ลำภูท่านดำริให้แกะ) สร้างบล็อคแม่พิมพ์ แบ่งเป็น2แบบใหญ่ คือ
1.สมเด็จพิมพ์เกศทะลุซุ้ม(ล้อพิมพ์วัดระฆังฯ)
2.สมเด็จพิมพ์เกศทะลุซุ้ม(ล้อ พิมพ์บางขุนพรหม)

สมเด็จพิมพ์เกศทะลุซู้ม(ล้อพิมพ์วัดระฆังฯ) เดิมทีหลวงปู่ลำภูท่านดำริให้พระเอกแกะพิมพ์ล้อพระสมเด็จบางขุนพรหม (ให้เกศทะลุซู้มยืนทะลุออกมาจากซู้มครอบองค์พระประธาน) แต่พอตอนแกะพิมพ์ออกมาบล็อคแรก กลายเป็นล้อพิมพวัดระฆังฯ ในการเริ่มจัดสร้างพระสมเด็จครั้งแรก พอกดพระออกมาจากพิมพ์ได้ไม่กี่ร้อยองค์ หลวงปู่ลำภูท่านมาเห็นเข้าจึงสั่งให้หยุดกดพิมพ์นี้และให้สร้างพิมพ์ล้อวัดบางขุนพรหม บล็อคต่อจึงพัฒนามาเป็นพิมพ์เกศทะลุ ซุ้ม

✨ดังนั้น ✨พระพิมพ์เกศทะลุซุ้ม(ล้อพิมพ์วัดระฆัง) จะหายากมากกว่า พระสมเด้จพิมพ์เกศทะลุซุ้ม(ล้อ พิมพ์บางขุนพรหม)

✨✨✨จะสังเกตุเห็นว่า พอหลวงปู่ลำภูท่านดำริให้สร้างพิมพ์ทะลุซุ้ม (ล้อกรุวัดบางขุนพรหม) เป็นหลัก แบบแม่พิมพ์ล้อพิมพ์กรุวัดบางขุนพรหมจึงมีหลายบล็อคแม่พิมพ์ด้วยกัน มูลเหตุน่าจะสืบเนื่องมาจากแบบแม้พิมพ์ชำรุดแล้วแกะสร้างมาชดเชยแบบที่ชำรุดไปคัรบ หากมีเวลาหลังจากลงครบตอน และมีผู้สนใจอ่านมากๆ ผมอาจจะนำแบบแม่พิมพ์ในพิมพ์เดียวกันมาวางวิเคราะห์ให้ดูถึงสมมุติฐานี่แจ้งนะคัรบ ว่าแบบพิมพ์ชำรุดแล้วจึงสร้างแบบพิมพ์ใหม่ขึ้นมา (จะกล่าวแบบเข้าใจง่ายๆเลย คือ พิมพ์คล้ายกันแต่มีตำหนิที่แตกต่างกันออกไปในแม่พิมพ์)...

1.สมเด็จพิมพ์เกศทะลุซุ้ม(ล้อพิมพ์วัดระฆังฯ)
2.แบบ สมเด็จพิมพ์เกศจรดซุ้ม 
พระสมเด็จพิมพ์เกศจรดซุ้ม พอจำแนกพิมพ์ได้หลักๆ เป็น 12 แบบ คือ
1.พิมพ์เกศจรดซุ้ม เหนือซุ้มมีขีด 
2.พิมพ์เกศจรดซุ้ม ล่ำ 
3.พิมพ์เกศจรดซุ้ม ต้อ 
4.พิมพ์เกศจรดซุ้ม บล็อคแตก 
5.พิมพ์เกศจรดซุ้ม ข้างซุ้มมีติ่ง 
6.พิมพ์เกศจรดซุ้ม ซุ้มเกิน 
7.พิมพ์เกศจรดซุ้ม เส้นซุ้มหนา  
8.พิมพ์เกศจรดซุ้ม เกศเอียง 
9.พิมพ์เกศจรดซุ้ม ร่องแขนขวามีจุด 
10.พิมพ์เกศจรดซุ้ม ข้างเข่าขวามีจุด 
11.พิมพ์เกศจรดซุ้ม ตัดเครื่อง และ 
12.พิมพ์พิมพ์เกศจรดซุ้ม หลังยันต์จม

3.แบบพิมพ์เส้นด้าย แบบพิมพ์แบ่งย่อยได้ 8 แบบ คือ
1.พิมพ์เส้นด้ายใหญ่
2.พิมพ์เส้นด้ายไหล่ยก
3.พิมพ์เส้นด้ายมีขีด
4.พิมพ์เส้นด้ายมีติ่ง
5.พิมพ์เส้ด้ายซุ้มขาด
6.พิมพ์เส้นด้ายลึก
7.พิพม์เส้นด้ายซุ้มไม่มีจุด
8.พิมพ์เส้นด้ายซุ้มมีจุด


4.พิมพ์สังฆาฏิ หมวดพิมพ์นี้แบ่งย่อยได้ 2 แบบหลัก คือ 
1.พิมพ์สังฆาฏิมีหู  
2.แบบไม่มีหู และ
แยกย่อยได้อีกเป็น แบบละ2พิมพ์


5.พิมพ์เกศบัวตูม
พิมพ์แบบพิมพ์ใกล้กัน เลยไม่ได้แยกย่อยให้

🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟

6.พิมพ์เจดีย์
หมวดพิมพ์นี้แบ่งย่อยได้ 2 แบบหลัก คือ พิมพ์เจดีย์มีหู และ แบบเจดีย์ไม่มีหู


7.หมวดสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์
หมวดพิมพ์นี้แบ่งย่อยได้ 2 แบบหลัก คือ
1.สมเด็จปรกโพธิ์ (ล้อพิมพ์กรุบางขุนพรหม)
2.สมเด็จปรกโพธิ์ (ล้อพิมพ์กรุวัดมฤคาทัยาวัน หัวหิน)


8.สมเด็จพิมพ์ฐานคู่
พบปรากฏอยู่พิมพ์เดียว หรือใกล้เคียง

🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟

9.สมเด็จพิมพ์ฐานแซม
พิมพ์นี้แบ่งย่อยได้ 2แบบหลัก คือ
1.สมเด็จฐานแซมหูปะบ่าใหญ่
2.สมเด็จฐานแซมหูปะบ่าเล็ก


10.พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑ
พบปรากฏอยู่พิมพ์เดียว หรือใกล้เคียง

🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟

11.พระสมเด็จพิมพ์คะแนน
พิมพ์นี้แบ่งย่อยได้ 2แบบหลัก คือ
1.สมเด็จคะแนนพิมพ์ตื้น
2.สมเด็จคะแนนพิมพ์ลึก
✨✨✨✨✨✨✨✨✨
12.พระพิมพ์จันทร์ลอย
พิมพ์นี้แบ่งย่อยได้ 3แบบหลัก คือ
1.พระจันทร์ลอย พิมพ์หลังเรียบ
2.พระจันทร์ลอย พิมพ์หลังเขียน "ลำภู"
3.พระจันทร์ลอย พิมพ์หลังปั๊ม "หลวงพ่อลำภู"


ไม่มีความคิดเห็น: