พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่
“องค์ทองพันชั่ง”
พิมพ์ที่ 3 พิมพ์อกกระบอก
หลักการพิจารณา พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 3
1. เส้นกรอบแม่พิมพ์ด้านซ้ายมือพระ จะเป็นเส้นนูน ลากยาวลงมาถึงบริเวณกึ่งกลางแขนซ้ายพระ แล้วจะชิดซุ้มและจะแนบกลืนหายไปในซุ้มครอบแก้ว
2. เส้นกรอบแม่พิมพ์ด้านขวามือขององค์พระจะลากยาวลงมาถึงด้านล่าง และจะชิดเส้นซุ้มตรงมุมล่างพอดี
3. ส่วนโค้งของซุ้มครอบแก้ว ด้านซ้ายมือพระตามลูกศรชี้จะล้มไปทางขวามือพระเสมอ
4. เกศพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 3 เกศจะค่อนข้างยาวกว่าพิมพ์ที่ 1 และจะเอียงไปทางซ้ายมือพระเล็กน้อย
5. ใบหน้าพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 3 ใบหน้าจะเป็นรูปไข่
6. รักแร้ซ้ายพระจะโค้งสูงกว่าข้างขวาพระ และเนื้อที่ระหว่างรักแร้กับหัวไหล่ ข้างซ้ายพระจะมีเนื้อที่บางกว่าด้านขวามือพระ
7. การวางแขนของพิมพ์ใหญ่พิมพ์ที่ 3 จะกว้างกว่าพิมพ์ที่ 1 และจะโย้ไปทางขวามือพระ
8. ช่วงลำตัวตั้งแต่อกไปถึงเอวจะเป็นรูปทรงกระบอกให้ดูอกและเส้นข้างลำตัวจะทิ้งลงมาเป็นเส้นตรง ๆ ลงมาเลยทั้งสองข้าง และอกทรงกระบอกจะเป็นเอกลักษณ์ของพิมพ์ที่ 3
9. ช่วงระหว่างระดับไหปลาร้าจนถึงมือประสาน แม่พิมพ์ที่ 3 จะดูยาวกว่าแม่พิมพ์ที่ 1
10. หัวเข่าด้านซ้ายพระจะยกสูงกว่าหัวฐานชั้นบนด้านซ้ายพระเสมอ
11. หัวเข่าด้านขวามือพระจะเตี้ยกว่าหรือเสมอหัวฐานชั้นบนด้านขวามือพระ
12. ร่องระหว่างฐานชั้นบนกับหน้าตักพระ ทางขวามือพระร่องจะตื้นแล้วค่อย ๆ ลึกลาดลงไปทางซ้ายมือพระ
13. พื้นที่ในซุ้มครอบแก้วจะต่ำกว่าพื้นที่นอกซุ้มครอบแก้วเล็กน้อยต้องส่องกล้องแบบตะแคงข้างส่องจึงจะมองเห็น
14. ร่องระหว่างฐานชั้นกลางกับฐานชั้นบน พื้นที่ภายในร่องจะสูงเสมอกับพื้นที่รอบตัวองค์พระ
ขอขอบคุณ ที่มา:ช้าง ห้วยไร่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น