วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2561

พระสมเด็จพิมพ์หลวงสิทธิการโยธารักษ์

ลักษณะพระสมเด็จฯ ยุคต้น แม่พิมพ์หลวงสิทธิการ พ.ศ. 2380

1. เนื้อพระ มีส่วนผสมของแป้งปูนขาว (เปลือกหอยทะเลเผา บดป่นละเอียด) และเนื้อกล้วยสุก เนื้อข้าวสุกตากแห้งบดละเอียด ประสานเนื้อพระด้วยน้ำอ้อย น้ำผึ้ง เนื้อพระเก่าแก่จัดมาก แข็งแกร่งเป็นหิน โดยเฉพาะผิวพระเปิดออก ได้แก่ ฐานพระ องค์พระเส้นซุ้ม จะมองเห็นเนื้อกล้วยสุกสีชมพูอ่อน หรือสีขาวขุ่นงาช้าง หรือสีขาวอมเหลือง เนื้อพระสดใส แวววาว หนึกนุ่มนวลตา เกิดจากเนื้อเก่ามีอายุ เกือบ 170 ปี


2. ผิวพระ ขรุขระ ชื้นยุ่ยเป็นเกล็ด เป็นแผ่นบาง เป็นผงจับตัวเป็นก้อนเล็ก กระจาย ปกคลุมเนื้อพระ เกิดจากปฏิกิริยาเคมี วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ตามกาลเวลาอันยาวนาน มีการขับน้ำปูน คราบน้ำเนื้อกล้วยสุก เนื้อข้าวสุก คราบน้ำอ้อย น้ำผึ้ง ออกจากเนื้อพระขึ้นปกคลุมผิวพระ มองเห็นได้ชัดเจนว่า มีเนื้อ 2 ชั้น คือ ชั้นนอกเป็นคราบบนผิวพระ ส่วนชั้นในเป็นเนื้อพระ


3. มีคราบราดำ คราบปูนขาว คราบไคล คราบฝุ่น เกาะติดแน่นกับผิวพระ ปราศจากการตกแต่ง หรือแต้มแต่งใด ๆ

4. มวลสาร จะเป็นมวลสารชนิดแข็ง ได้แก่ เม็ดแร่หินต่าง ๆ เม็ดกรวดทราย จากผงกรุพระเก่า เศษพระกรุเก่าบดป่น เมื่อเนื้อพระหดตัว ทำให้มวลสารเหล่านี้ หลุดร่อนออกจากเนื้อพระ กลายเป็นหลุมบ่อ ทั้งด้านหน้า และด้านหลังจริง ลบล้างความเชื่อกล่าวกันมาแต่ดั้งเดิมว่า ไม่มีหลุมบ่อเกิดขึ้นกับพระสมเด็จวัดระฆังให้หมดสิ้นไป


การเปรียบเทียบเนื้อพระสมเด็จ กับพระสมเด็จวัดระฆัง

ภาพขยายเนื้อพระพิมพ์สมเด็จยุคต้น พิมพ์หลวงสิทธิการ พ.ศ. 2380


ภาพขยายเนื้อพระพิมพ์สมเด็จยุคต้น พิมพ์หลวงวิจิตรนฤมล พ.ศ. 2406


ภาพขยายเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์หลวงสิทธิโยธารักษ์ และหลวง วิจารณ์เจียรไน พ.ศ. 2407 – พ.ศ. 2415

🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟
ผลจากการศึกษาวิเคราะห์ พิสูจน์ ตรวจสอบ เนื้อและพิมพ์ พระพิมพ์สมเด็จ และพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์นิยม องค์จริง ที่เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี สร้างและปลุกเสก ในยุคต่าง ๆ เป็นองค์ความรู้ที่สำคัญ ประกอบด้วยข้อเขียนอันบริสุทธิ์มีค่าของผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับพระสมเด็จวัดระฆัง รวมกันเป็นความรู้ที่ถูกต้อง แม่นยำ ชัดเจน เที่ยงตรง อันเป็นหลักการสำคัญ ในการพิจารณา พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์นิยม ดังต่อไปนี้
✨1. เนื้อพระ ลักษณะเนื้อพระเหมือนกันกับพระพิมพ์สมเด็จเนื้อครู เพียงเนื้อเดียวเท่านั้น อันเป็นเนื้อมาตรฐานพระสมเด็จวัดระฆังอย่างแท้จริง
✨2. ผิวพระ จะต้องมีปรากฏการณ์ธรรมชาติ วิทยาศาสตร์ เกิดขึ้นบนผิวพระ แสดงความเก่าของเนื้อพระ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
✨3. มวลสาร จะต้องมีมวลสารชนิดต่าง ๆอยู่ในรอยแยกของเนื้อพระที่หดตัว
✨4. พิมพ์ทรง จะต้องเป็นแม่พิมพ์ช่างหลวง ได้แก่ หลวงวิจิตรนฤมล หลวงสิทธิโยธารักษ์ และหลวงวิจารณ์เจียรไน โดยเฉพาะพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์นิยม มีหลายพิมพ์ หลายแบบ งดงามต้องตา มีมิติกลมกลึง นูนสูง คม ชัด ลึก เด่นชัด ล้วนแล้วแต่เป็นพิมพ์นิยมเป็นที่ต้องการของผู้ศึกษา และสะสม มิได้จำเพาะว่าพิมพ์ใดพิมพ์หนึ่ง เป็นพิมพ์นิยม
🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟
สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับ พิมพ์พระ และเนื้อพระ ที่มีการโต้เถียงกัน ในหมู่คนนิยมพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ใหญ่นิยม แยกออกได้เป็น 2 ประเด็น คือ

ประเด็นที่ 1
สืบเนื่องจากความเชื่อและความเข้าใจสืบทอดกันมาตั้งแต่เดิมว่า พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ จะต้องเป็นพิมพ์สวยเล่นหากันไม่กี่พิมพ์ คือ จะต้องดูพิมพ์เสียก่อนเป็นลำดับแรก จะเป็นพิมพ์ที่ต้องการหรือไม่ สวยหรือไม่ ถ้าไม่ใช่พิมพ์ที่เซียนพระกำหนดไว้ ถึงแม้ว่าเป็นพระแท้ ก็ถือว่าพิมพ์ไม่ใช่ เป็นพระปลอมให้ดูพิมพ์เป็นหลัก เป็นหลักเกณฑ์ตายตัว

ประเด็นที่ 2
พิจาณาตามความเป็นจริง พิสูจน์ตรวจสอบได้ และทำความจริงให้ปรากฏตามคำชี้แนะของเซียนพระผู้ทรงคุณวุฒิ โดยให้ดูเนื้อพระเสียก่อน โดยเปรียบเทียบ หรือเทียบเคียงเนื้อพระ กับพระพิมพ์สมเด็จเนื้อครู เป็นเนื้อต้นแบบ ถ้าเนื้อเหมือนกันแสดงว่าเป็นเนื้อแท้ เนื้อมาตรฐานของพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ เมื่อเนื้อใช่พิมพ์ก็จะใช่ตามมา ซึ่งมีเหตุผลสนับสนุนความจริง คือ สามารถพิสูจน์ ตรวจสอบ เทียบเคียงความเหมือนกัน กับพระพิมพ์สมเด็จฯ ได้อย่างชัดเจน ประกอบกับข้อมูลกล่าวถึงปริมาณการสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง ด้วยแม่พิมพ์ช่างหลวง ถึง 3 ท่าน มีหลายพิมพ์หลายแบบ จำนวนมากมายเกือบ 84,000 องค์ เมื่อเป็นพระเนื้อแท้ เป็นพระแท้ จะเป็นพิมพ์ไหนก็ได้ เป็นพิมพ์นิยม เป็นที่ต้องการของคนทั้งสิ้น เพราะพระสมเด็จวัดระฆังแท้ มีพุทธคุณเยี่ยม ศักดิ์สิทธิ์ เข้มขลัง ดังประสบการณ์ของผู้ใช้

ถ้าใช้ปัญญาในการคิดวิเคราะห์ ไตร่ตรองด้วยเหตุผล มากกว่าความเชื่อบอกต่อกันมา จะเห็นได้ว่า ประเด็นที่ 2 มีค่าน้ำหนักถูกต้อง ชัดเจน เป็นจริงมากกว่า ความเห็นในประเด็นที่ 1 เพราะเป็นผลลัพธ์จากการพิสูจน์ให้เห็นถึงเนื้อแท้ของพระสมเด็จวัดระฆัง อย่างแท้จริง มิได้คลุมเครือ ปิดบังซ่อนเร้น และการดูพิมพ์อย่างเดียวไม่ดูเนื้อเชื่อตามเซียนบอก คือ พิมพ์สวยจริง ๆ แต่พิสูจน์เนื้อหาพระหลายองค์แล้วเนื้อพระไม่ใกล้เคียงเนื้อพระพิมพ์สมเด็จฯ จึงเป็นพระเนื้อไม่แท้

ขอขอบคุณ ที่มา:www.bloggang.com

พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ หลวงสิทธิการ จัดสร้างประมาณปี ๒๓๘o-๒๔o๔
"เล่นสมเด็จ เสร็จทุกราย" เป็นคำพูดทีเล่นทีจริงที่คุ้นหูในบรรดาแวดวงนักสะสมพระเครื่อง ด้วยเหตุว่า "พระสมเด็จ" เป็นสุดยอดพระเครื่อง ยอดปรารถนาที่จะหามาครอบครองของผู้สะสม จนทำให้มีมูลค่าการสะสมที่สูงเป็น แสน เป็นล้าน หรือ หลายสิบล้านบาท ตลอดจนมีการสร้างพระเครื่องเนื้อผง รูปสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ปางสมาธิ ประทับนั่งอยู่บนฐานสามชั้น สืบต่อเนื่องกันมาหลายต่อหลายยุค ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยังไม่นับรวมถึงพวกทำปลอม เลียนแบบ พระสมเด็จ มากจนนับเนื่องไม่ได้ แนวทางการศึกษา "พระสมเด็จ" ก็มีมากมายหลายตำรา หลายสำนัก การเข้าถึงความจริงแท้แห่ง "พระสมเด็จ" จึงหาข้อยุติไม่ได้ในปัจจุบัน



ในช่วงไม่นานมานี้ ผมได้ยินได้ฟัง "นักเลงพระ" รุ่นเก่า เก๋า กึ๊ก พูดถึงพระสมเด็จพิมพ์หลวงสิทธิ์ฯ ว่าเป็น "พระสมเด็จ" อีกพิมพ์หนึ่งที่นักนิยมสะสมพระเครื่องรุ่นเก่าชื่นชอบกัน และ มีสนนราคาเล่นหากันแพงมากในอดีต แปลกใจตรงที่ว่า คนสมัยนี้ทำไมไม่นิยม หรือ บางทีก็ "สวด" ว่าเป็นพระ "เก๊!" กันเลยก็มี ได้ยินได้ฟังแบบนี้ "เก๋าสยาม" จะไม่สนใจ เลยเลียบๆ เคียงๆ ถาม "นักเลงพระ" รุ่นเก๋าให้รู้ความกันไปเลย ก็เลยอยากจะบอกกล่าวเล่าแจ้งให้ฟังกัน




"หลวงสิทธิ์ฯ" เป็นช่างหลวงคนหนึ่งในยุคร่วมสมัยกับ "สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังษี" ที่ผมทำเครื่องหมาย "ฯ" ไว้เพราะผมเองก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันชัดแจ้งว่า "หลวงสิทธิ์ฯ" แกชื่อเต็มๆ ว่าอย่างไร บ้างก็ว่า ชื่อ หลวงสิทธิการ บ้าง หรือ บ้างก็ว่า ชื่อ หลวงสิทธิโยธารักษ์ ก็มี เอาเป็นว่าของติดไว้ก่อนแล้ว เก๋าสยาม จะลองไปสืบค้นให้นะครับ ในชั้นนี้ของเรียกว่า "หลวงสิทธิ์ฯ" ไปก่อนก็แล้วกัน

นักเลงพระรุ่นเก๋ายังเล่าต่อไปว่า หลวงสิทธิ์ฯ เป็นผู้แกะแม่พิมพ์พระสมเด็จให้กับ สมเด็จโต แห่ง วัดระฆัง อีกท่านหนึ่งด้วย แกยังบอกด้วยว่า แกะแม่พิมพ์ถวายก่อนพิมพ์ ของหลวงวิจารณ์เจียรนัย ตั้ง 30 ขวบปีกว่า หมายความว่า พระสมเด็จพิมพ์หลวงสิทธิ์ เก่ากว่า พระสมเด็จพิมพ์หลวงวิจารณ์ฯ แกยืนยันว่าอย่างนั้น ครับ!

"แล้วผมจะรู้ได้อย่างไรว่าพิมพ์ไหนเป็นของหลวงสิทธิ์ฯล่ะครับ" เก๋าสยามถามต่อ

✨✨✨พระสมเด็จพิมพ์หลวงสิทธิ์ฯ มีเอกลักษณ์ที่องค์พระ✨✨✨
จะดูล่ำสัน สมส่วน สง่าผ่าเผย ที่สำคัญ ฐานชั้นที่สองที่บางคนเรียกฐานสิงห์ หรือ ขาสิงห์ นั้น หัวฐานด้านขวามือขององค์พระจะเชิดขึ้นแบบ หัวเรือสำเภา ตรงบริเวณนี้จะมีการยุบตัว ม้วนตัว ที่บ่งบอกได้ถึงความเก่า น่าจะถอดแบบมาจาก "พระอู่ทองฐานสำเภา" นั่นแหละ" ลุงนักเลงพระรุ่นเก๋าอธิบายอย่างมั่นใจ

ขอขอบคุณ ข้อมูล ที่มา :เก่ง กำแพง







ไม่มีความคิดเห็น: