วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ยุคของการสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง

สมเด็จพุฒาจารย์(โต) สร้างพระพิมพ์ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2368 (อายุ 37 ปี) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระครูโต” และสร้างเรื่อยมาหลายบล็อกพิมพ์ ในขณะนั้นเรียกว่า “พระพิมพ์” ขนาดชิ้นฟัก มีขนาดต่าง ๆ ต่อมาเรียกพระพิมพ์ที่สร้างขึ้นว่า “พระสมเด็จวัดระฆัง” เมื่อครั้งเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ทรงได้รับเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นที่ “สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี”เมื่อปี พ.ศ. 2407 และได้เรียก “พระสมเด็จวัดระฆัง” เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

จากบันทึกตำนานเก่าแก่ และคำบอกเล่า ของพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ที่ใกล้ชิดเจ้าประคุณสมเด็จฯ เกี่ยวกับการสร้างพระพิมพ์ ประกอบกับมีคำจารึกการสร้างพระพิมพ์ ไว้ข้างฐานรูปหล่อท่านั่งเนื้อสำริดของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ขนาดต่าง ๆ ที่มีผู้ใจบุญเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ในสถานที่หลายแห่ง สอดคล้องกับคำบอกกล่าวของพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ในสมุดโบราณ

จากหลักฐานและความเป็นมา การสร้างพระพิมพ์ เชื่อได้ว่าเจ้าประคุณสมเด็จ สร้างอยู่ 3 แผ่นดิน หรือ 3 ยุคสมัยตั้งแต่รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สร้างครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2368 จนถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 สร้างครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. 2414 รวมการสร้างพระพิมพ์ประมาณ 14 ครั้ง และแบ่งออกเป็น 3 ยุค ดังนี้

ยุคต้น สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 –2390 (ครองราชย์ พ.ศ. 2367 - 2394)

ยุคกลาง สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ตั้งแต่ พ.ศ. 2399 –2411 (ครองราชย์ พ.ศ. 2394 - 2411)

ยุคปลาย สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งแต่ พ.ศ. 2412 –2414 (ครองราชย์ พ.ศ. 2411 - 2453)

มีรายละเอียดการสร้างพระพิมพ์ หรือพระสมเด็จ ดังนี้

ยุคต้น ในรัชกาชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3 )
1. ปี พ.ศ. 2348 สร้างที่ระลึกงานฉลองสมณศักดิ์ เป็น “พระครูโต”
2. ปี พ.ศ. 2378 สร้างเป็นที่ระลึกในการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระปริยัติธรรม”
3. ปี พ.ศ. 2379 สร้างเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้บริจาคเงินสร้างพระพุทธไสยาสน์
4. ปี พ.ศ. 2381 สร้างเป็นที่ระลึกให้งานทำบุญครบ 51 ปี ขณะดำรงตำแหน่งสมณศักดิ์ พระปริยัติธรรม
5. ปี พ.ศ. 2386 สร้างเป็นที่ระลึกในงานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระราชปัญญาภรณ์”
6. ปี พ.ศ. 2387 สร้างเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้บริจาคเงินบำรุงวัดระฆัง
7. ปี พ.ศ. 2390 สร้างเป็นที่ระลึกในงานทำบุญครบรอบ 60 ปี เป็นที่ “พระเทพกวีศรีวิสุทธินายก”

ซึ่งการสร้างแต่ละครั้งมีจำนวนไม่มาก เป็นพิมพ์ใหญ่ และหลายพิมพ์ทรง เป็นพระเนื้อขาวแก่ปูน พิมพ์ใหญ่ไม่มีเส้นกรอบกระจก หรือเส้นบังคับพิมพ์

ยุคกลาง ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)
1. ปี พ.ศ. 2399 สร้างให้โยมพระบิดามารดา เพื่อแทนคุณ ขณะดำรงสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระธรรมกิติโสภณ” เป็นพิมพ์ปรกโพธิ์
2. ปี พ.ศ. 2399 สร้างเป็นที่ระลึกในงานสร้างพระบูชา นามว่า “พระหาพุธพิม”
3. ปี พ.ศ. 2407 สร้างเป็นที่ระลึกในงานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ “สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)พรหมรังษี” เป็นพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่
4. ปี พ.ศ. 2409 สร้างในขณะดำรงสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี” เริ่มสร้างที่จำนวน 84,000 องค์ตามเจตนารมณ์ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา โดยแม่พิมพ์ของช่างทองหลวง “หลวงวิจารณ์เจียรนัย”
5. ปี พ.ศ. 2411 สร้างในขณะดำรงสมณศักดิ์ เป็นที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต เป็นพิมพ์ใหญ่อกวี

ยุคปลาย ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
1. ปี พ.ศ. 2412 สร้างพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรนัย
2. ปี พ.ศ. 2414 สร้างพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ (ลงรักปิดทอง) สร้างถวายแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ข้อเปรียบเทียบความแตกต่างพุทธลักษณะพระที่สร้างในยุคต้น ยุคกลาง และยุคปลาย


รูปซ้ายมือ-พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ยุคต้น (สังเกตุที่เนื้อพระจะขาว ไม่มีเส้นบังคับพิมพ์หรือเส้นกรอบกระจก)
รูปขวามือ-พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ยุคกลาง+ปลาย (สังเกตุที่เนื้อพระจะมีคราบน้ำมันตังอิ้ว มีเส้นบังคับพิมพ์หรือเส้นกรอบกระจก ในรูปอาจจะต้องใช้การสังเกตดีๆ ถึงจะมองเห็นเส้นกรอบกระจกที่อยู่ด้านซ้ายมือที่เส้นค่อนข้างจะเบาบาง หากอยากดูเส้นกรอบกระจกชัดๆ สามารถดูได้ที่ รูปพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ชุดที่ 2 องค์ครูเอื้อและองค์กวนอู


รูปซ้ายมือ -พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ยุคต้น
รูปขวามือ - พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ยุคกลาง+ปลาย

มีพระพิมพ์วัดระฆังหลายองค์ ที่สร้างในยุคต้น ถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ยังหลงเหลือมีให้เห็น ท่านที่ดูออกจะรู้ว่า เป็นพระพิมพ์เนื้อเก่ายุคต้น ซึ่งพิมพ์และเนื้อพระ จะไม่เหมือนพระในยุคกลางและยุคปลาย ซึ่งเป็นพิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรนัย ถ้าท่านไปพบเข้าอย่าไปเที่ยวตีว่าของเขาไม่แท้ ความจริงพระยุคต้นหรือพระรุ่นแรก เป็นที่ต้องการของคนเล่นพระ ถือว่าเป็นของดีเยี่ยม พุทธคุณความขลังเป็นเลิศ โดยเฉพาะพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ เนื้อขาวจั๊วแตกลายงามีน้อยหายากมาก

ที่มา: bloggang

ไม่มีความคิดเห็น: