ในทำเนียบพระวัดระฆังมีการผสมว่านวคัมบดีหรือว่านสบู่เลือด มีมาตั้งแต่ในยุคของ ท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) ตัวอย่างเช่นองค์กวนอู หรือเนื้อโกเดที่เป็นองค์ดาราล้วนเป็นพระที่เข้าว่านสบู่เลือด วรรณะจะออกแดงน้ำตาล ส้ม หรือแดงชมพูอ่อนๆทั้งนี้อยู่ที่ความเข้มข้นของว่าน การเข้าว่านวคัมบดีหรือว่านสบู่เลือดเพื่อพึ่งพุทธคุณทางคงกระพันชาตรีเพิ่มขึ้น เป็นเนื้อพระที่มีจำนวนน้อยเป็นเนื้อที่หายาก
ว่านสบู่เลือดสมัยโบราณจะใช้ยางของว่านสบู่เลือดซึ่งมีสีแดงอ่อนๆ ใช้ในการสักยันต์คงกระพัน ว่านสบู่เลือดมีทั้งตัวผู้และตัวเมีย ตัวผู้หัวจะยาวยาว ตัวเมียหัวจะออกกลม การใช้เป็นส่วนผสมทำวัตถุมงคลจะใช้ทั้งหัวสดและยาง (จะได้สีแดง) รวมทั้งหัวตากแห้งนำมาบด(จะให้สีออกน้ำตาลแดง) วัตถุมงคลที่ผสมเนื้อว่านสบู่เลือดเป็นหลักก็จะได้สีออกน้ำตาลแดง สบู่เลือดจัดเป็นไม้ล้มลุก มีหัวใต้ดินใหญ่ กลม เปลือกหัวสีน้ำตาล เนื้อในสีขาวนวล รสชาติมันและเฝื่อนเล็กน้อย ลำต้นแทงขึ้นจากหัว โค้งงอลงพื้นดิน ใยเดี่ยวเรียงสลับ เกือบกลม หลรือกลมคล้ายบัว แต่ขนาดเล็กกว่า ดอกออกเป็นช่อกระจุก เเยกเพศสีเหลือง ไม่มีกลีบดอก
มวลสาร ในพระสมเด็จวัดระฆัง สีแดงว่านสบู่เลือด
สบู่เลือด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Stephania venosa (Blume) Spreng) สบู่เลือดเป็นพรรณไม้เถาชอบพาดพันไปตามไม้ต้นคล้ายบอระเพ็ดเถากลม มียางสีแดงจึงเรียก สบู่เลือด บางแห่งเรียกกระท่องเลือด กลิ้งกลางดง บอระเพ็ดพุงช้าง บอระเพ็ดยางแดง บัวเครือ บัวบก เปล้าเลือดเครือ หัวสันโดด สบู่เลือด สบู่เครือ น้ำยางสีแดงสามารถนำมาใช้เป็นหมึกเพื่อใช้สักยันต์ตามตัวเพื่อทำให้หนังเหนียวได้ (น้ำยางสีแดง)
พระสมเด็จวัดระฆัง สีแดงว่านสบู่เลือด ที่ผ่านการล้าง
ภาพขยายเนื้อพระ สีแดงว่านสบู่เลือด ที่ผ่านการล้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น