วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ความต่างของปูนสุก และปูนดิบ ตามหลักวิทยาศาสตร์

พระสมเด็จเนื้อปูนสุก
ในการตกตะกอนของปูนสองชนิด คือ หินปูน (แคลเซียมคาร์บอเนต) ที่น่าจะเป็นสารประกอบในระบบปูนดิบ ที่ยังไม่ผ่านการเผาด้วยความร้อนสูง ทำให้ยังเป็นโมเลกุลของแคลเซียมคาร์บอเนตอยู่ และ ปูนผงหรือปูนขาว (แคลเซียมออกไซด์ เมื่อแห้ง หรือแคลเซียมไฮดรอกไซด์ เมื่อมีความชื้น) และเกิดเป็น แคลเซียมไบคาร์บอนเนตเมื่อทำปฏิกริยากับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ที่น่าจะเป็นสารประกอบในระบบปูนสุก ที่ผ่านการเผาด้วยความร้อนสูง ไล่คาร์บอนไดออกไซด์ออกไปจากโมเลกุลของปูน โมเลกุลของปูนทั้งสองชนิดนี้จะมีการละลายน้ำที่ต่างกันมาก คือ แคลเซียมคาร์บอเนตจะละลายน้ำได้น้อย ในขณะที่แคลเซียมไฮดรอกไซด์ และไบคาร์บอเนต จะละลายได้มากกว่า

เนือของเปลือกหอยเก่า ที่มีอายุหลายร้อยปี
ดังนั้นการไหลของน้ำปูนออกมาพอกผิวระยะแรกๆจึงเป็น "ผิวนวล" และ "ผงแป้ง" ของแคลเซียมไบคาร์บอเนต ที่ตกตะกอนแบบไม่มีผลึก (Amorphous) แต่ถ้ามีมาก ก็จะคลุมหนาขึ้นเรื่อยๆ มีลักษณะเหมือนผงแป้งคลุมองค์พระทั้งองค์ พระลักษณะนี้เรียกว่า พระเนื้อปูนสุก ดังนั้น ผิวพระเนื้อปูนสุกจะไม่แน่นแข็ง เกิดรอยขีดข่วนและสึกกร่อนได้โดยง่าย

เนื้อพระสมเด็จเนื้อปูน+เปลือกหอย

ปูนดิบ
ในขณะที่แคลเซียมคาร์บอเนตที่ละลายน้ำได้น้อยกว่าจะค่อยๆละลายออกมาพอกผิวองค์พระทีละน้อยๆๆ แต่จะแข็งแน่นแกร่ง ผิวเรียบมัน สะท้อนแสงแบบผิวแก้ว หรือผิวกระเบื้องเคลือบ เกิดลักษณะที่เรียกว่า พระเนื้อปูนดิบ แต่ในความเป็นจริงก็มีเนื้อผสมกันในสุดส่วนต่างๆ ตั้งแต่แก่ปูนดิบ ปูนผสม จนถึงแก่ปูนสุก นอกจากนี้ก็ยังมีมวลสารที่ทั้งละลายน้ำได้และน้ำมันเข้ามาเป็นตัวแปรของการตกตะกอน ทำให้เกิดสี ความแข็ง ชั้นที่ผิวพระ ความเรียบมัน และการตกตะกอนที่แตกต่างกัน ทำให้ไม่มีพระองค์ใดที่เหมือนกัน 100% แต่ละองค์มีเอกลักษณ์ของตัวเอ ทั้งผิว สี ความแกร่ง ความมัน และพิมพ์ทรงที่แตกต่างด้วยการงอกของปูนที่ต่างกัน
ปูนกับน้ำจะทำปฏิกิริยากันได้ดี ในระบบสารละลาย ในขณะที่น้ำมันจะเป็นระบบสารแขวนลอย และจะกลั่นรวมตัวกันได้ดีเมื่อน้ำน้อยลงหรือแห้งสนิท ในระยะนี้ผมพยายามคิดหาทางช่วย
คนที่ยังไม่สามารถเข้าใจพัฒนาการของเนื้อ และผิวพระเนื้อผงปูนได้ โดยเฉพาะ ความแตกต่างของ พระสมเด็จที่เพิ่งสร้างใหม่ๆ และพระสมเด็จที่มีอายุมาก ว่ามีอะไรแตกต่างกัน ผมตระหนักดีว่า การอธิบายนี้อาจเป็นดาบสองคม คือ นอกจากจะทำให้นักส่องพระเข้าใจพระมากขึ้น ก็อาจเป็นช่องทางให้ช่างทำพระเก๊ได้ ทำเนียนมากขึ้น แต่ผมก็มาชั่งใจว่า การทำให้คนรู้มากขึ้น น่าจะคิดต่อได้ดีกว่าเดืม การโดนหลอกก็จะยากขึ้นและมีขีดจำกัดในตัวเอง

เนื้อพระสมเด็จ ที่เกิดการงอก
ประเด็นสำคัญของการพัฒนาการของเนื้อ และผิวพระสมเด็จเนื้อปูนเปลือกหอย ก็คือ ความเข้าใจเชิงปฏิกิริยาของปูน น้ำ และน้ำมัน ในการพัฒนาการของเนื้อพระผงปูนผสมน้ำมันตังอิ้ว ปูนที่มีในระบบของพระผงปูนก็จะมี

เนื้อพระสมเด็จ ที่เกิดการงอก และเห็นน้ำมันตังอิ้ว
ปูนสุก หรือปูนขาว (Calcium oxide) ที่ทำให้เกิดการเชื่อมประสาน (concretion) ของเนื้อพระในระยะแรกๆ และเกิดความนวลของผิวพระ (coating) ในระยะต่อๆมา และ ปูนดิบ หรือหินบด หรือเปลือกหอยป่น (calcium carbonate) ที่จะเคลือบผิวหินปูนด้านนอก ทำให้เกิดความแข็งแกร่งของเนื้อและ ผิวพระในระยะต่อๆมา น้ำ จะเป็นตัวทำละลายปูนให้ทำปฏิกิริยาเกาะกัน โดยเฉพาะในระยะแรกๆ และ เคลื่อนที่มาที่ผิวตามแรงตึงผิว และความแห้ง (Capillary flow) และ เมื่อมีความชื้นเข้าไปในองค์พระอีก ก็จะไปเกิดการละลายเนื้อปูนดิบและสุก เท่าที่มีอยู่ในเนื้อ แล้วไหลกลับออกมาเมื่อบรรยากาศและ ความชื้นภายนอกแห้งกว่า

เนื้อพระสมเด็จ ที่มีรักน้ำเกลี้ยง
การไหลของน้ำทำให้มีการตกตะกอนของปูนทั้ง สองชนิดตามจำนวนครั้งของการไหลของน้ำ ออกมาระเหยที่ผิว ผิวพระเนื้อปูนดิบที่พัฒนา จนปิดผิวพระ โดยรอบแล้วจะเก็บกักความชื้นในองค์พระ ได้มากและนานกว่าเนื้อปูนสุก และการระเหยน้ำของพระเนื้อปูนดิบ ส่วนใหญ่จะผ่านรูเปิดที่เหลือ ที่เรียกว่า "บ่อน้ำตา" หรือรอยแยก หรือรอยปริร้าวของแผ่นปูนดิบที่เก่าได้อายุ ทำให้พระที่มีอายุมากที่น่าจะผ่าน ความแปรปรวนของความชื้นเหล่านี้มาบ่อย ก็จะมีการพัฒนาผิวค่อนข้างมาก

และน้ำมัน ที่ใช้ก็คือนำมันข้นที่เรียกว่า "ตังอิ้ว" จะแขวนลอยในน้ำ ทำหน้าที่ประสานให้ เนื้อปูนที่กำลังแห้งเกาะกันต่อไป ด้วยแรงเชื่อมของน้ำมัน ทำให้เนื้อปูนที่แห้งลงไม่แตกหักโดยง่าย การเชื่อมประสานจะยิ่งมีมากถ้าพระแห้งมาก และจะน้อยลงเมื่อพระมีความชื้นมากขึ้น จึงเป็นการประสานแรงให้มีความคงทนทั้ง ในสภาพแห้งและชื้น ที่แปรปรวนอยู่ของเนื้อพระ ถ้าเนื้อพระแห้งมากๆ นานๆ น้ำมันตังอิ้วก็ จะมีแรงการกลั่นตัวและไหลออกมาถึง ผิวด้านนอกตามรูน้ำตา และรอยปริแยกของผิว ให้เห็นเป็นคราบๆ ที่เรียกว่า "คราบตังอิ้ว" ทั้งนี้ เพราะ ปูนกับน้ำจะทำปฏิกิริยากันได้ดี อย่างต่อเนื่อง

เนื้อพระสมเด็จเก่า มีรักน้ำเกลี้ยง
ในระบบสารละลาย ในขณะที่น้ำมันจะเป็นระบบสารแขวนลอย และจะกลั่นรวมตัวกันได้ดี เฉพาะเมื่อมีน้ำน้อยลงหรือ แห้งสนิท และถ้าเนื้อพระแห้งมากๆ นานๆ น้ำมันตังอิ้วก็ จะมีแรงการกลั่นตัวและไหลออกมาถึงผิวด้านนอก การไหลของตังอิ้วจะถูกปิดกั้นด้วยความชื้นที่สูงขึ้น ในเนื้อ ที่ผิว หรือรอบๆองค์พระ เช่น การแช่น้ำทั้งร้อนและเย็น แต่การแช่น้ำร้อนนานๆ อาจทำให้น้ำมันบางส่วน ระเหยออกมาแทนการไหลตามปกติ พระเนื้อปูนดิบจะปิดกั้นการไหลของน้ำมันตังอิ้ว ได้ด้วยความชื้นที่สูงกว่า และช่องทางเปิดที่จำกัดกว่า และการไหลของน้ำมันตังอิ้วจะถูกเร่ง ให้ไหลมากขึ้นในสภาพที่ร้อนและแห้ง เช่น การแขวนพระใช้กับตัว ที่มีความร้อนอบอยู่ตลอด

เนื้อพระสมเด็จ ที่มีน้ำมันตังอิ้ว
 ดังนั้น ถ้าอยากให้พระเนื้อฉ่ำมันก็ต้องแขวนใช้บ่อยๆ ถ้าอยากให้พระออกนวลสวย ก็ล้างบ่อยๆ เพื่อเพิ่มความชื้นให้กับองค์พระ และโดยธรรมชาติ พระที่อยู่ในสภาพแห้ง จะออกผิวฉ่ำ เพราะจะมีน้ำมันตังอิ้ว
ออกมามาก ในขณะที่พระอยู่ในสภาพชื้นจะออกผิวนวล เพราะน้ำจะนำปูนออกมาที่ผิวมากขึ้น เมื่อเข้าใจแล้ว ก็สามารถนำไปใช้ทั้ง ประเมินอายุ และอ่านประวัติของพระสมเด็จ แต่ละองค์ นำมาปรับให้ผิวพระฉ่ำ หรือนวล

เนื้อพระสมเด็จเก่า
ก็แล้วแต่ ชอบ และ สามารถประเมินอายุของพระได้ ตามหลักการที่เขียนและแสดงตัวอย่างผิว ไว้แล้วในบทความก่อนๆ พระเก๊ จะใช้วิธีเอาสีโปะ เลอะๆ เละๆ เต็มไปหมด แต่ตามหาที่มาไม่ได้ ในการดูพระสมเด็จเนื้อปูนดิบนั้น นอกจากจะดูที่การพัฒนาการของผิวปูนดิบ และปูนสุกแล้ว

ประเด็นสำคัญที่ดูได้โดยง่ายๆ ก็คือ การกระจายของน้ำมันตังอิ้วบนผิวพระสมเด็จ ที่ปรากฏอยู่ที่ในเนื้อ และที่ผิวเนื้อปูนดิบ การกระจายของน้ำมันตังอิ้วบนผิวพระสมเด็จ วัดระฆัง แบบเดียวกับการไหลของน้ำมันออกมาจากรูน้ำมัน เล็กน้อย


ที่หัวระหว่างหูกับตาของช้าง ตอนที่ ช้างตกมัน ที่ต่างอย่างสิ้นเชิงของสภาพ ช้างตกบ่อน้ำมัน ที่จะมีน้ำมันเปื้อนตัวช้าง แบบไม่รู้ว่ามาจากไหน เต็มไปหมด แต่ถ้าลองไปดูที่รูน้ำมันของช้าง อาจจะแห้งสนิท ไม่มีรอยคราบน้ำมันไหลออกมาด้วยซ้ำ ที่เป็น "ธรรมชาติที่เลียนแบบได้ยาก" ที่สามารถใช้ดูพระสมเด็จได้ง่ายที่สุด

 พระแท้จะกระจายตัวของคราบตังอิ้วนิดๆ จากรูน้ำตาและรอยแตกของปูน ทั้งซึมเข้าในเนื้อผิวและคลุมผิวพระ มากน้อยตามอายุ

พระเก๊ จะใช้วิธีเอาสีน้ำตาลคล้ายตังอิ้ว ในการดูพระสมเด็จเนื้อปูนดิบนั้น นอกจากจะดูที่การพัฒนาการของผิวปูนดิบ และปูนสุกแล้ว ประเด็นสำคัญที่ดูได้โดยง่ายๆ ก็คือ การกระจายของน้ำมันตังอิ้วบนผิวพระสมเด็จ ที่ปรากฏอยู่ที่ในเนื้อ และที่ผิวเนื้อปูนดิบ นำมาแต้ม หรือโปะ แบบ เลอะๆ เละๆ เต็มไปหมด แต่หาที่มาไม่ได้ แบบเดียวกับช้างตกบ่อน้ำมัน

ยกเว้นพระฝีมือจัดระดับ "ปาดคอเซียน" ที่จะทำเนียนมาก ทีละองค์ อย่างประนีต ที่ไม่ต้องระวังมาก เพราะพระระดับนี้ เขาเอาไว้ "ปาดคอเซียน " อย่างเดียว ราคาจากโรงงานก็หกเจ็ดหมื่นแล้ว ไม่มาถึงเราหรอกครับ ฉะนั้น พระเก๊ตาเปล่าทั้งหลายมักมาตายที่ น้ำมันตังอิ้วนี่เอง จริงๆ มองอีกมุมหนึ่ง ก็น่าสงสารช่าง ไม่โปะ ก็รู้ว่าเก๊ โปะ ก็ดูออกว่าเก๊ จะทำเนียนๆ ก็ไม่ทันกิน ขายยาก นานๆจะมีใบสั่งมาสักองค์ ...ก็เลยทำพระเก๊ตาเปล่ามาวางขายกันเกร่อ

 ถือว่าทำบุญทำกุศล บุญมีพอแล้ว เดี๋ยวก็ได้พระแท้ๆเองและครับ ระวังแต่ว่า เมื่อท่านธุดงค์มาแล้ว ขอให้นิมนต์ให้ถูกองค์ก็ พอแล้วครับ

ขอขอบคุณ บทความ ที่มา: อ.แสวง รวยสูงเนิน

ไม่มีความคิดเห็น: