วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เนื้อองค์พระสมเด็จ ในแต่ละยุค

พระสมเด็จของท่านสมเด็จโต สร้าง มีอยู่ 3 ยุค ดังนี้

1.ยุคต้น ในรัชกาชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3 ) ปี พ.ศ. 2348-2390
ซึ่งการสร้างแต่ละครั้งมีจำนวนไม่มาก เป็นพิมพ์ใหญ่ และหลายพิมพ์ทรง เป็นพระเนื้อขาวแก่ปูน พิมพ์ใหญ่ไม่มีเส้นกรอบกระจก หรือเส้นบังคับพิมพ์  เรียกว่า "พระพิมพ์"







เนื้อองค์พระมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เป็นความเก่าโดยธรรมชาติ เนื้อองค์พระมีมวลสารต่างๆ
มีการงอกของเนื้อพระ และมีผงวิเศษ จำนวนมาก

2.ยุคกลาง ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)ปี พ.ศ. 2399-2411










เนื้อองค์พระยังมีการเปลี่ยนตามธรรมชาติตามกาลเวลา  ทำให้เกิด เนื้องอก รอยแยก รอยแตก รอยปริ หลุม และบ่อ มวลสารต่างๆและผงวิเศษ ยังมีปรากฏให้เห็นชัดเจน










3.ยุคปลาย ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)ปี พ.ศ. 2412-2414









เนื้อองค์พระมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เป็นความเก่าโดยธรรมชาติ เนื้อองค์พระมีมวลสารต่างๆ
มีการงอกของเนื้อพระ  ส่วนผสมของเนื้อพระ มีหลากหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่จะมีน้ำมันในองค์พระแทบทั้งสิ้น  แต่ผงวิเศษบางเนื้อมีจำนวนมาก เนื่องจากสร้างจำนวนน้อย บางองค์มีจำนวนน้อย หรือบางองค์แทบไม่มีให้เห็น














และหลังจากท่านสมเด็จโต มรณภาพ 22 มิ.ย.2515 มีการสร้างพระสมเด็จขึ้น เป็นจำนวนมาก จากเกจิ ตามวัดต่างๆ มีการเลียนหรือล้อพิมพ์ และเนื้อมวลสารต่างๆ

การเปรียบเทียบ พระสมเด็จระหว่าง ยุคต้น กับ ยุคกลาง+ยุคปลาย


4.ยุคหลัง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2415-2500
















เนื้อองค์พระ ยังมีการเปลี่ยนแปลงน้อย มีมวลสาร มีน้ำมันตังอิ๊ว จำนวนมาก แต่ไม่มีผงวิเศษ

ไม่มีความคิดเห็น: