วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562

พระสมเด็จวัดเกศไชโย

พระสมเด็จวัดเกศไชโย เป็นหนึ่งในสามของพระพิมพ์ตระกูลพระสมเด็จ ที่มีความเกี่ยวข้องกับ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต  พรหมรังสี) ด้วยมีมูลเหตุจากบันทึกของ พระยาทิพโกษา(สอน โลหะนันทน์) และนาย กนก สัชฌุกร ซึ่งได้บันทึกจากคำบอกเล่าของ พระธรรมถาวร จันทรโชติ กล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งท่านยังเป็นสามเณรอยู่ ได้มีโอกาสช่วยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ตำผงเพื่อสร้างพระสมเด็จ ประมาณปี 2409 ที่วัดระฆังโฆษิตาราม พระสมเด็จ ที่สร้างขึ้นในสมัยนั้นมีทั้ง 3ชั้น 7ชั้น ซึ่งพิมพ์ 7ชั้น ได้นำไปบรรจุไว้ที่ วัดเกศไชโย จังหวัดอ่างทอง

พระสมเด็จเกศไชโย พิมพ์ 7ชั้นหูประบ่า

ท่านพระยาทิพโกษาฯ ได้บันทึกว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) ผู้สร้างพระขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับโยมมารดาที่มีชื่อว่า "เกศ" และตาของท่านที่มีชื่อว่า "ไช" พระสมเด็จจึงถูกเรียกชื่อตามวัดว่า "พระสมเด็จวัดเกศไชโย" ท่านสมเด็จโต ท่านสร้างพระสมเด็จ พิมพ์ 7 ชั้น นี้ที่วัดระฆังโฆษิตาราม แล้วนำมาแจกและบรรจุไว้ในกรุวัดไชโยวรวิหาร ในครั้งที่สมเด็จโต ได้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่วัดนี้

พระสมเด็จพิมพ์ 6ชั้น อกตลอด

พระสมเด็จวัดเกศไชโย เป็นพระแก่ปูนผสมด้วยเกสรดอกไม้ และผงศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เป็นพระที่นักสะสมทั้งหลายให้ความเห็นว่า เป็นพระพิมพ์ที่เป็นพระปาง "ทรมานกาย" หรือบางท่านเรียกว่า"พระผอม"ทรงนั่งสมาธิบนฐาน 7ชั้น, 6ชั้น, 5ชั้น,และ3ชั้น สำหรับพิมพ์ที่นิยมในวงการพระเครื่องมี พิมพ์ 7ชั้นนิยม พิมพ์ 6ชั้นอกตัน และพิมพ์ 6ชั้นอกตลอด ส่วนพิมพ์อื่นจะได้รับความนิยมลดหลั่นกันลงมาตามลำดับ

พระสมเด็จเกศไชโย พิมพ์ 6ชั้นอกตัน(อกใหญ่)

ปัจจุบันค่านิยมและราคาของพระสมเด็จเกศไชโย นับวันยิ่งทวีค่ามากขึ้นตามพระสมเด็จวัดระฆังและพระสมเด็จบางขุนพรหม

พระสมเด็จเกศไชโย พิมพ์ 6ชั้นอกตัน(อกเล็ก)

จากคำบอกเล่าเมื่อครั้งมีการบูรระปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปองค์ใหญ่แล้วพบพระเครื่องตระกูลนี้ออกมาเป็นจำนวนมากผู้ที่มีพระพิมพ์สมเด็จวัดเกศไชโยไว้ส่วนใหญ่จะเป็นชาวบ้านละแวกนั้น มีพระส่วนหนึ่งจำนวนเล็กน้อยที่พบพร้อมกับการเปิดกรุบางขุนพรหม ทำให้สันนิษฐานได้ว่า พระสมเด็จวัดเกศไชโย น่าจะมีอายุการสร้างที่แยกต่างหากจากการสร้างพระทั้งที่วัดระฆังและกรุบางขุนพรหม ด้วยมวลสาร เนื้อหาต่างกัน ช่างแกะพิมพ์ก้ต่างฝีมือจากพระสมเด็จวัดระฆังและบางขุนพรหม

ประวัติวัดไชโยวรวิหาร
เลขที่ 21 หมู่ที่ 3 ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง

วัดไชโยวรวิหาร หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า วัดไชโย เดิมเป็นวัดราษฏร์สร้างมาแต่ครั้งใดไม่ปรากฏใช้ชื่อว่า “วัดเกษไชโย” ในช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ 4 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ได้ขึ้นมาสร้างพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่หรือหลวงพ่อโตไว้กลางแจ้ง ไม่มีพระวิหารครอบ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโย เมื่อมีการสร้างวิหารก็จำเป็นต้องมีการกระทุ้งราก พระพุทธรูปใหญ่ทนการกระเทือนไม่ได้ก็พังทลายลง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหลวงพ่อโตขึ้นใหม่ตามแบบหลวงพ่อโต วัดกัลยาณมิตร ขนาดหน้าตักกว้าง 16.10 เมตร ความสูงสุดยอดพระรัศมี 22.65 เมตร และพระราชทานนามว่า “พระมหาพุทธพิมพ์” วิหารของวัดไชโยนี้หันหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา มีการสร้างพระอุโบสถรวมทั้งศาลารายรอบพระวิหารรวมอีกสี่หลัง รวมเวลาที่ปฏิสังขรณ์นาน 8 ปี และยกฐานะของวัดขึ้นเป็นพระอารามหลวงชื่อ “วัดไชโยวรวิหาร” แต่ชาวบ้านทั่วไปก็ยังคงนิยมเรียกชื่อว่าวัดเกษไชโย


จนเมื่อคราวที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม (ซึ่งขณะนั้นท่านยังดำรงสมณะศักดิ์พระเทพกวี) ได้มาสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้นที่วัดแห่งนี้ในสมัยรัชกาลที่ 4 หรือประมาณปี 2400-2405 จึงทำให้วัดไชโยวรวิหารกลายเป็นที่รู้จัก และมีชื่อเสียงนับจากนั้น


 “พระมหาพุทธพิมพ์” หรือ “หลวงพ่อโต” เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวอ่างทองและจังหวัดใกล้เคียงให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมาก ประดิษฐานในวิหารวัดไชโยวรวิหาร มีพุทธลักษณะเป็นศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตัก 8 วา 7 นิ้ว ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง
และเนื่องจากเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโต ต่างเป็นที่ประจักษ์และกล่าวขานกันดีของชาวอ่างทองว่ากันว่า ผู้ที่ก่อกรรมทำชั่วไว้มากจะไม่สามารถเข้าไปกราบนมัสการหลวงพ่อโตได้ เนื่องจากเมื่อเข้าใกล้องค์พระ จะมองเห็นหลวงพ่อโต กำลังจะล้มลงมาทับนั่นเอง **พระหลวงพ่อโต ในปัจจุบัน ไม่ใช่องค์เดิมที่ท่านสมเด็จโตสร้าง มีการปฏิสังขรณ์ ถึง 3 ครั้ง**

ไม่มีความคิดเห็น: