วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562

เส้นซุ้ม พระสมเด็จเกศไชโย

ลักษณะเส้นซุ้มหรือครอบแก้ว ของพระสมเด็จวัดเกศไชโย พิมพ์ใหญ่เจ็ดชั้น นิยม จะมีสัดส่วนของครอบแก้วที่สามารถ กล่าวได้ว่า ได้สัดส่วนมากและมีเอกลัษณ์เฉพาะตัวของลักษณะเส้นซุ้มหวายผ่าซีก กล่าวคือเป็นเส้นที่ผอมบางเท่ากันตลอดทั้งเส้นและมีความกว้างในส่วนบนของครอบแก้วค่อนข้างมาก แม้จะมีพระบางองค์ที่มีครอบแก้งเฉียงไปข้าใดข้างหนึ่งก็ตามที แต่พื้นที่ว่างด้านซ้ายมือขององค์พระจะกว้างกว่าด้านขวามือขององค์พระเล็กน้อย ซึ่งนับเป็นเรื่องแปลก หากสันนิษฐานจากพิมพ์ทรงการแกะแม่พิมพ์นี้น่าจะเกิดจากช่างมากกว่า สองคน เนื่องจากพื้นฐานของพิมพ์สามารถแบ่งแยกได้เป็น 2ฝีมือใหญ่ๆแต่กระนั้นลักษณะเส้นซุ้มก็มีความใกล้เคียงกันมาก หากไม่นับความหนาบางของเส้นซุ้มอาจ กล่าวได้ว่าการแกะสัดส่วนของเส้นซุ้มใกล้เคียงกันมาก ในทุกพิมพ์พระ



ลักษณะเส้นซุ้มด้านขวามือขององค์พระ  จะพบว่าพื้นที่ระหว่างองค์พระกับเส้นซุ้มของด้านนี้จะน้อยกว่าด้านตรงข้ามถึงแม้จะมีการแกะซุ้มเอียงไปทางด้านขวาของพระก็ตามที


ลักษณะเส้นซุ้มด้านซ้ายมือขององค์พระ  จะมีพื้นที่ระหว่างองค์พระกับเส้นซุ้มมากกว่าด้านตรงข้าม


ลักษณะเส้นซุ้มโดยรวมของพระพิมพ์นี้แบ่งเป็น 3 ลักษณะใหญ่ๆ คือเส้นซุ้มที่มีลักษณะชลูด, เส้นซุ้มแบบปกติและเส้นซุ้มที่มีลักษณะต้อกว่าปรกติ


สำหรับขอบกระจกของพระสมเด็จวัดเกศไชโย นับว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะพิมพ์เพราะพระสมเด็จเกศไชโยนี้มีเนื้อเกินขอบกระจกทุกองค์มากน้อยแล้วแต่การตัดทำให้เป็นพระที่เห็นขอบกระจกครบถ้วนทั้ง 4 ด้าน หากแต่มีเส้นขอบซุ้มด้านข้างทั้งซ้ายขวาชิดกับขอบกระจกค่อนข้างมากและด้วยความกว้างของพื้นที่ภายในครอบแก้วทำให้พื้นที่ด้านนอกครอบแก้วระหว่างเส้นซุ้มกับขอบกระจกเหลือไม่มากนักตามรูปข้างบน

โปรดสังเกตุ ว่าพระส่วนใหญ่จะมีเนื้อเกินบริเวณส่วนล่างของครอบแก้วกับเส้นขอบกระจกและส่วนของขอบกระจกกับเนื้อเกินน้อยกว่าเนื้อเกินในส่วนต่างๆ(ตัดขอบชิดด้านล่างขององค์พระเป็นส่วนใหญ่)มีพบบ้างเหมือนกันที่มีเนื้อเกินส่วนนี้มากหรือเท่ากับส่วนอื่นๆ

ที่มา:ตำราการศึกษา พระสมเด็จวัดเกศไชโย

ไม่มีความคิดเห็น: